ธันวาคม 20, 2018มกราคม 16, 20190 โภชนาการกับผู้สูงอายุปัจจุบันคนไทยมีอายุยืนยาวขึ้นกว่าเดิมและคาดว่าในอนาคตอายุขัยเฉลี่ยของทั้งชายและหญิงจะมีมากขึ้น ดังนั้นผู้สูงอายุจึงมีจำนวนมากขึ้น จึงเผชิญกับปัญหาโรคภัยไข้เจ็บมากขึ้นไปด้วย โภชนาการที่ดีสามารถช่วยป้องกันโรคและลดความรุนแรงของโรคป้องกันและบรรเทาภาวะแทรกซ้อนของโรคบางโรคได้ วัยของผู้สูงอายุ เมื่อย่างเข้าวัยผู้สูงอายุ จะเกิดความเปลี่ยนแปลงในร่างกายไปในการเสื่อม ได้แก่ มวลเนื้อเยื่อของอวัยวะภายในมวลกระดูกและน้ำในร่างกายและสัดส่วนของไขมันมากขึ้น การที่มีมวลเนื้อเยื่ออวัยวะภายในลดลงนั้น ทำให้ร่างกายทำงานของอวัยวะภายในต่างๆ โดยเฉพาะหัวใจ ปอด ไต ตับ และสมองลดลงด้วย ระบบภูมิคุ้มกันจะเสื่อมถอยลง ทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายและการฟื้นตัวจากโรคก็ยากขึ้นด้วย ความต้องการสารอาหารในผู้สูงอายุ 1.พลังงาน ผู้สูงอายุทั่วไปต้องการพลังงานจากอาหารลดลงเนื่องจากการใช้พลังงาน จากการที่มวลเนื้อเยื่อร่างกายลดลงและมีกิจกรรมลดลง หากรับประทานอาหารเท่าที่เคยทานจะทำให้เป็นโรคอ้วนได้2.โปรตีน เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานและผู้สูงอายุต้องการโปรตีนสูงขึ้นเล็กน้อยในการรักษาสมดุลในร่างกายแต่หากมีโรคประจำตัวอยู่ ความต้องการโปรตีนยิ่งสูงขึ้น ผู้สูงอายุควรเลือกบริโภคเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน เช่น ปลา เต้าหู้ และนมพร่องมันเนย3.คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ กลุ่มข้าว แป้ง ก๋วยเตี๋ยว เผือก มัน และน้ำตาล ผู้สูงอายุควรรับประทานให้เพียงพอ เพื่อจะรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ส่วนอาหารที่มีน้ำตาลสูงควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินควรรับประทานน้ำตาลธรรมชาติจากผลไม้จะดีกว่าและยังได้เกลือแร่และวิตามินจากผลไม้ได้ด้วย4.ไขมัน เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานสูงมาก ความต้องการไขมันในร่างกาเพียงเพื่อให้ได้รับกรดไขมันจำเป็นเพื่อให้ได้รับวิตามินที่ละลายในไขมันให้เพียงพอ สำหรับผู้สูงอายุต้องการเพียงเล็กน้อย ดังนั้นผู้สูงอายุจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น มันจากสัตว์ เนย กะทิ น้ำมันต่างๆ5.วิตามิน ต้องการหลายชนิดไม่แตกต่างจากเดิมแต่ผู้สูงอายุต้องการมากขึ้น ที่สำคัญได้แก่ วิตามินB6 โฟเลต และวิตามิน B12 จะช่วยดูดซึมลดลงในคนสูงอายุ เนื่องจากกระเพาะสร้างกรดลดลง การขาดโฟเลต และวิตามิน B12 จะทำให้เกิดโรคโลหิตจางได้ นอกจากนี้การขาดวิตามิน B12 ยังทำให้ระบบประสาททำงานปกติ เช่น ชาหรือเดินลำบากได้6.ใยอาหาร ผู้สูงอายุต้องการใยอาหาร คือปริมาณวันละ 25 กรัม ช่วยป้องกันท้องผูก ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลและโคเลสเตอรอลจะเป็นประโยชน์ในผู้ที่เป็นเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูง7.น้ำ ผู้สูงอายุส่วนมากได้รับน้ำไม่เพียงพอ หากอากาศร้อนจะยิ่งขาดน้ำ อาจมีผลเสียกับไตมีของเสียคั่ง ผู้สูงอายุควรได้รับน้ำอย่างน้อยวันละ 1.5 – 2 ลิตร ยกเว้นในผู้ป่วยโรคไตวาย หรือหัวใจล้มเหลวที่ต้องจำกัดน้ำโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุที่มีโภชนาการมีบทบาทเกี่ยวข้องโรคเบาหวาน เป็นความผิดปกติของเมตาบอลิซึ่ม เกิดจากร่างกายมีฮอร์โมนอินสุลินไม่เพียงพอกับความต้องการหรือมีภาวะดื้อต่ออินสุลิน โรคเบาหวานที่เกิดในผู้สูงอายุมักเป็นชนิดที่ 2 ผู้ที่เป็นเบาหวานจะมีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และมีการสลายโปรตีนมากกว่าปกติ ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานและไม่ได้ควบคุมจะมีปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย ผอมลงปัจจัยที่ส่งเสริมให้เป็นเบาหวานได้มากกว่าปกติ1.กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีบิดาและมารดาเป็นเบาหวานมีโอกาสเป็นเบาหวานมากกว่าคนปกติ2.อายุ เมื่อมีอายุมากขึ้นมีโอกาสเป็นเบาหวานผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปควรไปตรวจ3.น้ำหนักตัวเกิน โดยเฉพาะผู้ที่อ้วนลงพุงมีโอกาสเป็นเบาหวาน4.ผู้ที่เคยตรวจพบว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีโอกาสสูงเมื่อมีอายุมากขึ้น5.ผู้ที่เคยตรวจพบว่ามีน้ำตาลในเลือกสูงกว่าปกติแต่ยังไม่เข้าเกณฑ์เบาหวานการควบคุมอาหาร1.ควรหลีกเลี่ยงขนมหวานทุกชนิด เช่น ทองหยอด ทองหยิบ น้ำกะทิ สังขยา เค้ก คุกกี้ เพราะไม่จำเป็นและไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดได้ ส่วนผลไม้ที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น ทุเรียน ละมุด ลำไย เป็นต้น ส่วนผลไม้ที่ทานได้แต่ต้องจำกัดควรแบ่งรับประทานตามมื้อไม่ควรรับประทานครั้งละมากๆอาหารที่ควรควบคุม ได้แก่1.อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ควรรับประทานเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ข้าว ก๋วยเตี๋ยว หากเป็นข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮสวีทจะดีกว่าข้าวที่ขัดขาว2.อาหารจำพวกไขมัน ควรจำกัดปริมาณ และหลีกเลี่ยงอาหารทอดและผัดที่ใช้น้ำมันมากๆ และไขมันจากสัตว์ กะทิ น้ำมันมะพร้าว หากจะใช้ให้ใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว3.อาหารจำพวกโปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ เต้าหู ควรรับประทานตามความเหมาะสม ควรที่จะรับประทานอาหารที่ไม่ติดมัน เช่น ปลา อกไก่ สันใน และไข่ควรรับประทานแต่ไข่ขาว อาหารที่รับประทานได้โดยไม่จำกัด ได้แก่ ผักใบเขียวใยอาหารที่มีอยู่จะช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลได้และยังป้องกันท้องผูกได้อีกด้วยการออกกำลังกายที่เหมาะสมมีความจำเป็นในการควบคุมเบาหวานเพื่อทำให้เกิดความสมบูรณ์ของการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตหัวใจและปอด เพื่อลดไขมันในเลือดและควบคุมน้ำหนักตัวอย่างน้อยวันละ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีโรคต่างๆ เข้ามารุม เช่น โรคข้อเสื่อม โรคของกระดูกสันหลัง โรคหัวใจขาดเลือด ชนิดของการออกกำลังกายให้เหมาะสมโดยการเริ่มออกกำลังกายแต่เบาๆ ในช่วงสั้นๆ เพื่อเตรียมร่างกายให้เหมาะสม หลักจากปรับตัวได้แล้วจึงเริ่มออกกำลังกายให้นานขึ้น หากไม่มีโรคข้ออาจใช้วิธีเดินหรือขี่จักรยานอยู่กับที่ หากมีปัญหาโรคข้ออาจใช้กายบริหารโดยหลีกเลี่ยงการที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อข้อหรือการรำมวยจีน หรือการออกกำลังกายในน้ำ เป็นต้น