แผลกดทับ คือ การบาดเจ็บเฉพาะที่ของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูกหรือบริเวณที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์กดทับ การเกิดแผลกดทับมักพบในผู้ป่วยที่มีการนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน นอนติดเตียง ไม่ค่อยพลิกตะแคงตัว หรือเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง ได้หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวจนเกิดแผลกดทับที่ผิวหนังตามตำแหน่งต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูก
บริเวณที่มักเกิดแผลกดทับ ได้แก่ ก้นกบ ศอก สะโพก ส้นเท้า ข้อเท้า ไหล่ หลัง ท้ายทอย
แผลกดทับ เกิดได้ง่ายบริเวณร่างกายที่เป็นปุ่มกระดูกแล้วเกิดการกดทับนาน ๆ ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจทำให้แผลกดทับแย่ลง เช่น ความสกปรกหรืออับชื้นของผิวหนัง การเสียดสี ที่อาจทำให้เกิดแผลได้มากขึ้น หรือ เพิ่มโอกาสการติดเชื้ออักเสบแทรกซ้อนได้
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับ
- ผู้สูงอายุ ซึ่งมักจะมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว และผู้สูงอายุมักมีผิวหนังที่บอบบางและบาดเจ็บได้ง่าย
- ติดเตียง จากสาเหตุของโรค หรือหลังการผ่าตัด
- ปัญหาการเคลื่อนไหว เช่น เป็นอัมพาต
- ภาวะอ้วน
- มีปัญหาด้านการกลั้นขับถ่าย
- ภาวะขาดสารอาหาร รับสารอาหารได้ไม่เพียงพอ จะทำให้ร่างกายซ่อมแซมและฟื้นตัวจากการบาดเจ็บได้แย่ลง
- โรคร่วมที่ทำให้การไหลเวียนของเลือดแย่ลง เช่น เบาหวาน โรคหลอดเลือดอุดตัน โรคไต โรคหัวใจ หรือโรคที่ทำให้การเคลื่อนไหวแย่ลง เช่น โรคพาร์กินสัน
แผลกดทับอาจเกิดขึ้นได้หลังจากการกดต่อเนื่องนาน ๆ ระดับชั่วโมงหรือระดับวัน ส่วนใหญ่แผลกดทับสามารถรักษาหายได้หายขาด ยกเว้นบางกรณีที่มีการกดนาน ๆ หรือมีภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้ผิวหนังที่เกิดการบาดเจ็บฟื้นตัวได้ไม่เหมือนเดิม
แผลกดทับสามารถป้องกันได้หากผู้ดูแลตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และปฏิบัติตามวิธีการที่เหมาะสมในการดูแลผู้ป่วยเพื่อไม่ให้เกิดแผลกดทับ
แผลกดทับมีกี่ระดับ?
สามารถดูแลตามระดับความรุนแรงของแผลกดทับ แบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้
แผลกดทับระดับ 1 ผิวหนังบริเวณที่ถูกกดทับเป็นรอยแดง ผิวหนังยัง ไม่เกิดการฉีกขาด รอยแดงเหล่านี้จะไม่หายไปภายในประมาณ 30 นาที เมื่อมีการ พลิกตะแคงตัวหรือเปลี่ยนอิริยาบถใช้นิ้วมือกดพบว่ารอยแดงยังคงอยู่
แผลกดทับระดับ 2 มีการสูญเสียชั้นผิวหนังบางส่วนจนมองเห็นชั้นหนัง แท้ลักษณะพื้นแผลมีสีชมพูหรือสีแดง หรืออาจพบลักษณะของตุ่มน้ำใสหรือเป็น ตุ่มน้ำใสที่แตก
แผลกดทับระดับ3 มีการสูญเสียชั้นผิวหนังทั้งหมดมองเห็นชั้นไขมันใน แผล อาจมีเนื้อตายสีเหลือง สีน้ำตาล หรือสีดำ
แผลกดทับระดับ 4 มีการสูญเสียชั้นผิวหนังทั้งหมดและชั้นเนื้อเยื่อใต้ ผิวหนัง มองเห็นพังพืด กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูกอ่อน หรือกระดูกในบริเวณ แผลได้
การรักษาแผลกดทับ
การรักษาแผลกดทับคือการช่วยให้ผู้ป่วยเกิดแรงกดทับที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งน้อยลง ดูแลรักษาแผล บรรเทาอาการเจ็บแผล ป้องกันการติดเชื้อ และช่วยให้ผู้ป่วยมีโภชนาการที่ดี ทั้งนี้ แผลกดทับจัดเป็นปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อน จำเป็นต้องมีกลุ่มรักษาที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน ได้แก่ แพทย์ผู้ดูแลแผนการรักษา แพทย์ผิวหนัง ศัลยแพทย์ด้านประสาท กระดูก และศัลยกรรมตกแต่ง พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด และนักโภชนาการ
วิธีรักษาแผลกดทับมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับระยะของอาการที่เป็น โดยผู้ป่วยที่มีแผลกดทับระยะที่ 1 และระยะที่ 2 สามารถหายได้หากได้รับการดูแลอย่างใส่ใจ ส่วนผู้ป่วยระยะที่ 3 และระยะที่ 4 อาจใช้เวลารักษานานกว่า วิธีรักษาแผลกดทับแบ่งตามการรักษาอาการของโรค ได้แก่ การลดแรงกดทับ การดูแลแผล การรักษาเนื้อเยื่อตาย และการรักษาอื่น ๆ ดังนี้
- การลดแรงกดทับ วิธีรักษาแผลกดทับขั้นแรกคือลดการกดทับอวัยวะที่เกิดภาวะดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดแรงกดทับมากขึ้นและลดการเสียดสีของผิวหนัง ซึ่งทำได้ ดังนี้
- ควรปรับเปลี่ยนหรือขยับร่างกายบ่อย ๆ ผู้ที่นั่งรถเข็นควรขยับร่างกายทุก 15 นาที หรือเปลี่ยนท่านั่งทุกชั่วโมง ส่วนผู้ที่นอนบนเตียงควรเปลี่ยนท่านอนทุก 2 ชั่วโมง
- ใช้ที่นอนหรือเบาะรองนั่งที่ช่วยหนุนร่างกายให้นั่งหรือนอน โดยไม่ทำให้ผิวหนังดึงรั้งกัน อันก่อให้เกิดแผลกดทับ
- การดูแลแผล การดูแลแผลกดทับขึ้นอยู่กับว่าแผลลึกมากน้อยแค่ไหน โดยทั่วไปแล้ว แผลกดทับสามารถดูแลรักษาได้ ดังนี้
- หากผิวหนังที่เกิดแผลกดทับไม่เปิดออก หรือเป็นแผลปิด ให้ล้างแผลด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอ่อน ๆ และเช็ดให้แห้ง ส่วนผู้ที่แผลเปิดออกให้ล้างด้วยน้ำเกลือสำหรับล้างแผลทุกครั้งเมื่อต้องทำแผล
- พันแผลเพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น เนื่องจากช่วยให้แผลชุ่มชื้นอยู่เสมอ อีกทั้งยังลดการเสียดสีที่ผิวหนัง
- การรักษาเนื้อเยื่อตาย แผลกดทับจะรักษาให้หายได้นั้นต้องไม่เกิดการติดเชื้อหรือเนื้อเยื่อตาย ผู้ป่วยที่มีเนื้อเยื่อตายจะได้รับการรักษา ดังนี้
- การผ่าตัดเนื้อตาย แพทย์จะทำความสะอาดแผลและตัดเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายออกไป
- ยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยอาจได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการติดเชื้อและป้องกันไม่ให้เกิดการลุกลาม
- ครีมหรือขี้ผึ้งสำหรับทารักษา ช่วยให้แผลหายไวขึ้นและป้องกันเนื้อเยื่ออื่นถูกทำลาย
- การดูแลอื่น ๆ ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการดูแลรักษาจากผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด โภชนากร และศัลยแพทย์ตกแต่ง
ฉะนั้นการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่ต้องดูแลแผลกดทับด้วยตัวเองนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนทั่วไป และดังนั้นหากให้ผู้ป่วยได้อยู่ในความดูแลของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพและมีความชำนาญ ก็จะมั่นใจได้ว่าผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และถูกต้องตามหลักการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง
ดังเช่นที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เดอะ ซีเนียร์ ซึ่งมีประสบการ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงมากกว่า 25 ปี อีกทั้งยังมีทีมพยาบาลวิชาชีพ พร้อมทีมงานผู้ช่วยทางการพยาบาลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงโดยเฉพาะ ผู้ป่วยจึงได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง ด้วยการประเมินวางแผนและออกแบบเป็นการดูเฉพาะบุคคล ที่ครอบคลุมทั้งด้านการดูแลการพยาบาล โภชนาการ และฟื้นฟูร่ายกายทางด้านกายภาพทำให้ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ที่ภาวะพึ่งพิง ได้รับการดูที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ในการดูแลที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ หรือ เนอร์สซิ่งโฮม เดอะ ซีเนียร์
The Senior Health Care เป็นศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง และศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ที่มีประสบการณ์มากกว่า 25 ปี เป็นศูนย์ดูแลผู้สูงอายุผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยติดเตียงที่มีแผลกดทับ ผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรัง ผู้ป่วยที่มีแผลจากโรคเบาหวาน กลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องการพักฟื้นหลังผ่าตัด กลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาของหลอดเลือดสมอง, กลุ่มผู้สูงอายุความจำเสื่อมอัลไซเมอร์และพาร์กินสัน, ด้วยทีมงานและบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในการที่จะประเมินและวางแผนการดูแลเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมของโรงพยาบาลเดอะซีเนียร์ได้ที่
โทร : 090-885-2985, 094-498-1115, 02-001-4452
LINE OFFICIAL : @thesenior