ธันวาคม 20, 201816/01/20190 การดูแลสุขภาพก่อนการผ่าตัดในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตัน ทำให้เลือดไหลผ่านไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้น้อย มีผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการเจ็บ หรือแน่หน้าอก หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หัวใจวายและเสียชีวิตได้ ผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจึงควรดูแลสุขภาพตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะทำให้อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแย่ลงการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด1.รับประทานยาตามคำสั่งการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งครัด และสังเกตภาวะแทรกซ้อนจากยาที่รับประทาน2.ควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้ เพื่อป้องกันไม่ให้อาการของโรคเป็นมากขึ้น เช่น1.ควบคุมความดันเลือดให้อยู่ในระดับปกติ หากมีโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย2.ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหากมีโรคเบาหวานร่วมด้วย3.ไม่สูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 2 เท่า4.ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดควรควบคุมน้ำหนัก และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ5.หลีกเลื่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารมันๆหรืออาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูงการดูแลตัวก่อนการผ่าตัดผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจชาดเลือดควรสังเกตอาการและรายงานความผิดปกติที่สัมพันธ์กับโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กิจกรรมขณะเกิดอาการและระยะเวลาที่มีอาการผิดปกติที่ควรแจ้งแพทย์ ได้แก่1.อาการเจ็บหน้าอก โดยจะมีอาการเจ็บลึกๆ แน่ๆ บริเวณกลางหน้าอกลักษณะเหมือนถูกรัดหรือกดหรือถูกบีบ อาจร้าวไปที่บริเวณไหล่ แขน โดยเฉพาะไหล่และแขนซ้ายด้านใน อาจร้าวไปบริเวณขากรรไกรหรือบริเวณลิ้นปี่2.เหนื่อย หายใจไม่อิ่ม3.เหงื่อออก4.ใจสั่น5.รู้สึกอ่อนแรง ไม่มีแรง6.ทำกิจวัตรประจำวันได้ลดลง7.มึน งง โดยเฉพาะขณะกำลังยืน8.นอนราบไม่ได้ ต้องนอนหมอนสูง9.หน้ามืด เป็นลม หรือหมดสตินอกจากอาการและความผิดปกติที่สัมพันธ์กับโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแล้ว แพทย์จะถามประวัติการรับประทานยาของท่านอย่างละเอียด เพื่อวางแผนการดูแล ระหว่างผ่าตัดต่อไป ท่านมักได้รับการรักษาด้วยยาร่วมกันหลายชนิด ได้แก่ ยาต้านเกร็ดเลือด ,ยาละลายลิ่มเลือด ช่วยให้การละลายลิ่มเลือดในหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีมากขึ้น , ยาต้านการแข็งตัวของเลือดป้องกันเกร็ดเลือดก่อตัวเป็นลิ่มเลือด ,ยากลุ่มไนเตรต เป็นกลุ่มยาที่ขยายหลอดเลือดทำให้เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจได้ดีมากขึ้นและยาอื่นๆที่ช่วยควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น ได้แก่ ยาลดโคเลสเตอรอล ,ยาควบคุมความดันโลหิต ยาควบคุมระดับน้ำตาล เป็นต้นในบางกรณีแพทย์อาจแนะนำให้ท่านได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น การตรวจหัวใจด้วยการวิ่งสายพานการตรวจคลื่นความถี่สูงหัวใจ (Echocardiography) หรือ การฉีดสีเพื่อตรวจหลอดเลือดหัวใจ โดยท่านจะถูกส่งไปพบอายุรแพทย์ และ อายุรแพทย์โรคหัวใจ ต่อไปตามลำดับก่อนผ่าตัด ท่านอาจจำเป็นต้องหยุดยาต้านเกร็ดเลือด ยาละลายลิ่มเลือด หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด เนื่องจากยากลุ่มดังกล่าวเพิ่มโอกาสเสียเลือดจากการผ่าตัด โดยแพทย์จะเปรียบเทียบความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดอุดตันกับโอกาสการเสียเลือดจากชนิดของการผ่าตัด การผ่าตัดที่ต่างกันอาจส่งผลต่อการพิจารณาหยุดยาของแพทย์ ดังนั้นท่านจึงควรขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้ดูแลสำหรับการผ่าตัดแต่ละครั้งเสมอข้อมูลจาก : ศูนย์ประเมินและเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดฯ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลศิริราช