ธันวาคม 20, 2018มิถุนายน 12, 20240 กายภาพบำบัดเบื้องต้น ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular Disease ; Stroke)อาการแสดง• ระยะแรก: ร่างกายด้านตรงข้ามกับสมองที่ถูกทำลายหยุดการทำงานมีอาการอ่อนแรง กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก ไม่สามารถ ควบคุมการเคลื่อนไหวได้• ระยะฟื้นตัว: ขยับแขนขาได้ สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้บ้าง อาจมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อแขนและขาอาการแสดงอื่นๆ ที่อาจพบได้• อาการอ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย• กล้ามเนื้ออ่อนแอ• ประสิทธิภาพการทำงานของระบบทางเดินหายใจและ หัวใจลดลง• ผู้ป่วยอาจไม่สนใจสิ่งต่างๆ ที่อยู่ทางด้านซ้ายหรือ ร่างกายซีกซ้ายของตนเอง• การกลั้นปัสสาวะไม่ได้นานหรือไม่ได้เลย• ปัญหาด้านความจำระยะสั้น• การพูด การอ่าน• การคิด การสรุปความ และการคำนวณ• ปัญหาด้านการมองเห็น• การบอกทิศทาง ระยะทาง• ปัญหาซึมเศร้าและการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพระยะการฟื้นตัว• การฟื้นตัวตามธรรมชาติของสมอง– 2-3 วัน ถึง 4 เดือน• การปรับเปลี่ยนโครงข่ายระบบประสาท– ระยะเวลานานถึง 7-8 ปี– ขึ้นกับรอยโรคในสมอง ภาวะแทรกซ้อนโรคประจำตัว อายุ ลักษณะนิสัย ของผู้ป่วย ความตั้งมั่นและวินัยในการฝึกฝนครอบครัว สิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยและการรักษาที่ได้รับ– ต้องอาศัยข้อมูลจากการเรียนรู้การทำทักษะต่างๆใหม่ หากผู้ป่วยมีการเรียนรู้ในการทำทักษะที่ผิดปกติ สมองก็จะมีโครงข่ายระบบประสาทที่ ควบคุมสั่งการการทำทักษะให้ออกมาเป็นแบบที่ผิดปกติด้วยบทบาทของกายภาพบำบัดในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก• การฟื้นฟูทักษะการเคลื่อนไหวที่สูญเสียไปจากการที่บางส่วน ของสมองถูกทำลาย–การควบคุมการเคลื่อนไหว–การทรงตัว–การทำงานประสานสัมพันธ์ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ• การป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการถูกจำกัดการเคลื่อนไหว–การหดสั้นของกล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่อรอบข้อต่อ–ป้องกันอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเป้าหมายการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปเคลื่อนไหวร่างกายให้ได้ ใกล้เคียงปกติมากที่สุด สามารถช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน การทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพและการทำกิจกรรมต่างๆ ทางสังคมได้กระบวนการทางกายภาพบำบัด1) การจัดท่านอน นั่ง ยืนที่ถูกต้อง2) การฝึกเคลื่อนย้ายตนเองหรือการเปลี่ยนท่าทาง3) การออกกำลังกายแบบทำให้4) การกระตุ้นไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อที่อ่อนปวกเปียก5) การฝึกฝนการทรงตัวและการรักษาสมดุลของร่างกาย6) การฝึกการทำงานที่ประสานสัมพันธ์กันของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ7) การฝึกเดิน8) การฝึกการทำกิจวัตรประจำวัน9) การออกกำลังกายแบบแอโรบิกกระบวนการทางกายภาพบำบัด1) การจัดท่า จัดให้แขนและขาอยู่ในท่าตรงข้ามกับท่าทางที่อาจเกิดขึ้น เมื่อมี อาการเกร็งของกล้ามเนื้อแขนและขาใน ท่าหมุนต้นแขนเข้าด้านใน งอข้อศอก คว่ำมือ กระดกข้อมือลง กำมือแน่น ข้อสะโพกและข้อเข่า เหยียดตรง ปลายเท้าจิกลง นิ้วเท้างอ1.1) ท่านอนหงาย1.2) ท่านอนตะแคงทับด้านแข็งแรง1.3) ท่านอนตะแคงทับด้านอ่อนแรง1.4) การจัดท่านั่ง• ลำตัวตั้งตรง• แขนข้างอ่อนแรงวางบนที่พักแขน• ลงน้ำหนักเท่ากันทั้งสองข้าง• เท้าวางราบกับพื้น1.5) การจัดท่ายืน• ลำตัวตั้งตรง• แขนข้างอ่อนแรงอยู่ในท่าหมุนต้น แขนออกด้านนอก เหยียดข้อศอก หงายมือ กระดกข้อมือขึ้น แบมือ• ลงน้ำหนักที่เท้าเท่ากันทั้งสองข้าง• เท้าวางราบกับพื้น2) การฝึกเคลื่อนย้ายตนเองหรือการเปลี่ยนท่าทาง• ให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุด• อาจต้องการความช่วยเหลือจากผู้ดูแล2.1) การพลิกตะแคงตัวทับข้างแข็งแรง2.2) การพลิกตะแคงตัวทับข้างอ่อนแรง2.3) การลุกขึ้นนั่งข้างเตียงทางด้านแข็งแรง2.4) การลุกขึ้นนั่งข้างเตียงทางด้านอ่อนแรง2.5) การลุกขึ้นยืน – นั่งลง3) การออกกำลังกายแบบทำให้3.1) ผู้ดูแลทำให้– การจับผู้ป่วยต้องมั่นคงและรองรับส่วนที่อ่อนปวกเปียก– จังหวะการเคลื่อนไหวสม่ำเสมอและราบเรียบ– เคลื่อนไหวข้อต่อทุกทิศทางในช่วงที่ไม่มีอาการปวด– ระวังการเคลื่อนไหวที่เกินช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อ– ผู้ดูแลต้องอยู่ในท่าที่ได้เปรียบเชิงกล เพื่อช่วยผ่อนแรงขณะทำการเคลื่อนไหวให้ ผู้ป่วย 3.2) ผู้ป่วยทำเอง– ใช้ข้างที่แข็งแรงจับข้างที่อ่อนแรงเคลื่อนไหว– จังหวะการเคลื่อนไหวสม่ำเสมอและราบเรียบ4) การกระตุ้นไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อที่อ่อนปวกเปียก5) การฝึกฝนการทรงตัวและการรักษาสมดุลของร่างกาย• ทำในท่านอนตะแคง ท่านั่ง และท่ายืน• การอยู่นิ่ง• การถ่ายน้ำหนัก• การรบกวนการทรงท่า5.1) การถ่ายน้ำหนักด้านข้าง5.2) การถ่ายน้ำหนักด้านหน้า-หลัง5.3) การเอื้อมจับ5.4) การถ่ายน้ำหนักลงบนแขนท่อนล่าง5.5) การถ่ายน้ำหนักด้านหน้าพร้อมลุกขึ้นยืน6) การฝึกการทำงานที่ประสานสัมพันธ์กันของระบบประสาท และกล้ามเนื้อ7) การฝึกเดิน8) การฝึกการทำกิจวัตรประจำวัน9) การออกกำลังกายแบบแอโรบิกข้อควรระวังในการการฝึกผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก• ไม่ให้ผู้ป่วยใช้ความพยายามในการเคลื่อนไหวเกินกำลังกล้ามเนื้อ ของผู้ป่วย เพราะจะทำให้เกิดอาการเกร็งกล้ามเนื้อมากขึ้น และมีการเคลื่อนไหวชดเชยที่ไม่ควรเกิดขึ้นในการเคลื่อนไหวปกติ ขัดขวางการพัฒนาทักษะที่ดี• ระวังอย่าดึงกระชากข้อไหล่ผู้ป่วย เพราะจะทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ ข้อไหล่ได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อสะบักและไหล่อ่อนแรง• ลดอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อก่อนการทำการเคลื่อนไหวข้อต่อ ต่างๆ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่อ• การยกแขนขึ้นสูงกว่าระดับไหล่ต้องจัดให้แขนข้างที่อ่อนแรงอยู่ใน ท่าศอกเหยียดตรงนิ้วหัวแม่มือชี้ขึ้นเพดานหรือหงายมือการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก• ผู้ป่วยและญาติต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการตั้งเป้าหมายการฟื้นฟูสภาพและการวางแผนการรักษา• เน้นการฝึกฝนตนเองของผู้ป่วย• ความช่วยเหลือและกำลังใจจากญาติ