ทีมดูแล เดอะซีเนียร์ Care Team The Senior
ทีมดูแล เดอะซีเนียร์
Care Team The Senior
ทีมผู้ช่วยพยาบาล (PN) และผู้ช่วยเหลือคนไข้ (NA) ที่ผ่านการอบรมของเรามีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การตรวจสุขภาพพื้นฐาน ช่วยดูแลกิจวัตรประจำวัน เช่น การอาบน้ำ ป้อนอาหาร และเคลื่อนย้ายตัว ไปจนถึงการจัดกิจกรรมนันทนาการกลุ่มที่ช่วยเสริมสุขภาพกายใจ เช่น เกมฝึกสมอง ดนตรีบำบัด และการออกกำลังกายเบาๆ เพื่อให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุขในทุกวัน
1.ผู้ช่วยพยาบาล (PN - Practical Nurse)
ผู้ช่วยพยาบาลเป็นบุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรมและการรับรองในระดับที่สูงกว่า NA และมีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลทางการแพทย์มากขึ้น หน้าที่ของผู้ช่วยพยาบาลในโรงพยาบาลผู้สูงอายุ ได้แก่:
- ดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน เช่น วัดความดันโลหิต ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด วัดชีพจร และตรวจสอบอาการพื้นฐาน
- ช่วยดูแลการรับประทานยา ให้คนไข้ตามคำสั่งแพทย์หรือพยาบาลวิชาชีพ ตรวจสอบการใช้ยาให้ถูกต้องและสอดคล้องตามตารางเวลา
- ช่วยจัดการและให้ความรู้ด้านสุขอนามัย เช่น การดูแลด้านสุขอนามัยส่วนตัว การทำความสะอาดร่างกาย การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำกิจวัตรประจำวัน
- ประเมินอาการเบื้องต้น และรายงานอาการที่ผิดปกติหรือการเปลี่ยนแปลงที่น่าสังเกตให้พยาบาลวิชาชีพทราบ
- ช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายและเปลี่ยนท่าทาง เช่น ช่วยคนไข้ที่เคลื่อนไหวลำบาก ให้เข้าห้องน้ำหรือเข้านอน
2.ผู้ช่วยเหลือคนไข้ (NA - Nurse Aid)
ผู้ช่วยเหลือคนไข้มักจะมีบทบาทในการดูแลด้านกิจวัตรประจำวันและการช่วยเหลือขั้นพื้นฐาน โดยทำหน้าที่เสริมช่วยเหลือในงานพยาบาล มีรายละเอียดหน้าที่ดังนี้:
- ดูแลความสะอาดส่วนตัว เช่น การอาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า ตัดเล็บและดูแลผม
- การดูแลด้านอาหารและน้ำ ช่วยป้อนอาหาร ดูแลให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเพียงพอ และจัดเตรียมอาหารสำหรับคนไข้
- การช่วยเหลือการเคลื่อนย้ายตัว เช่น ช่วยคนไข้ลุกจากเตียง นั่งเก้าอี้ หรือเข้านอน และเคลื่อนย้ายในกรณีที่จำเป็น
- ช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การเข้าห้องน้ำ เปลี่ยนผ้าอ้อม (ในกรณีที่จำเป็น) และการเตรียมตัวไปพบแพทย์
- สังเกตอาการและรายงานอาการเบื้องต้น โดยจดบันทึกอาการหรือพฤติกรรมที่ผิดปกติ เพื่อรายงานต่อผู้ช่วยพยาบาลหรือพยาบาลวิชาชีพ
นอกจากการดูแลด้านร่างกายแล้ว ผู้ช่วยพยาบาล (PN) และผู้ช่วยเหลือคนไข้ (NA) ยังมีบทบาทในการจัดกิจกรรมนันทนาการกลุ่มที่ส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจของผู้สูงอายุอีกด้วย กิจกรรมเหล่านี้มีความสำคัญเพราะช่วยลดความเหงา เพิ่มการเคลื่อนไหว และกระตุ้นการทำงานของสมอง กิจกรรมตัวอย่างที่อาจจัดได้แก่:
- เกมกระตุ้นความจำ เช่น บิงโก ปริศนาอักษรไขว้ หรือเกมทายคำ ที่ช่วยฝึกสมอง
- การทำงานฝีมือ เช่น วาดภาพ ทำงานประดิษฐ์ ช่วยกระตุ้นทักษะการเคลื่อนไหวของมือ
- การออกกำลังกายเบาๆ เช่น การออกกำลังกายในที่นั่ง หรือ ขยับแขนขาตามจะหวะแพลง เพื่อเสริมความแข็งแรง
- ดนตรีบำบัดและกิจกรรมร้องเพลง ที่ช่วยให้ผู้สูงอายุผ่อนคลายและสนุกสนาน