วิธีการดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด
ข้อควรระวังในการดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด
โรคภัยไข้เจ็บ มักมาคู่กับอายุที่มากขึ้นตามความเสื่อมถอยของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จึงมักมีโรคภัยต่างๆ เป็นโรคประจำตัว และมักจะต้องเข้ารับการรักษาเพื่อให้โรคนั้นหายไป วิธีการรักษาก็มีหลากหลายวิธีตามโรคและอาการของผู้ป่วย หนึ่งในวิธีการรักษาที่ทั้งตัวผู้ป่วยเอง และครอบครัว มักจะหลีกเลี่ยงนั้นก็คือการ “ผ่าตัด” การผ่าตัดเป็นการรักษาที่ทำให้ผู้ป่วยหายจากโรคหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วย แต่การผ่าตัดมีความเสี่ยงสูงและมีอันตราย เพราะการผ่าตัดสามารถเกิดการบาดเจ็บได้ตลอดเวลาทั้งขณะผ่าตัด และหลังผ่าตัด ดังนั้นการให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัด การเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัด การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด การฟื้นฟูสมรรถภาพหลังการผ่าตัดจึงมีความสำคัญมากโดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ที่จะให้ความรู้และดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดได้ต้องได้รับการฝึกฝนและมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ
ทำไมการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด และการดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดจึงมีความสำคัญ
เพราะการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดมีผลต่อการผ่าตัดและการดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดทั้งทางตรงและทางอ้อม ในบางครั้งผู้ป่วยคิดว่าเรื่องบางเรื่องเป็นเรื่องเล็กน้อยและมองข้ามซึ่งจริงๆแล้วอาจเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อการผ่าตัดและหากละเลยไปอาจมีผลกระทบต่อการผ่าตัดและอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่มีแผนที่กำลังจะผ่าตัดควรมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด เพื่อเตรียมความพร้อมต่อการผ่าตัดได้อย่างถูกต้อง และช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงขั้นตอนและสถานการ์ณที่ต้องเผชิญระหว่างการผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยคลายความกังวล ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยหลังการผ่าตัด และช่วยลดระยะเวลาในการพักฟื้นสมรรถภาพอีกด้วย
ศูนย์ดูแลผู้ป่วยที่รับดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด จึงตอบโจทย์ความต้องการของผู้ป่วยด้วยความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านข้อมูลในการเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัด และหลังผ่าตัดซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัดสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนเดิมได้เร็วขึ้น
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด
- ผู้ป่วยควรได้รับคำอธิบายเกี่ยวกับรายละเอียดการผ่าตัดเช่น วิธีการผ่าตัด ระยะเวลาในการพักฟื้นทั้งในห้องผ่าตัดและหลังการผ่าตัด
- ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลที่ทำการรักษาทราบหากมีโรคประจำตัวเพื่อประเมินความเสี่ยงในการผ่าตัด
- ศูนย์ดูแลผู้ป่วยจะฝึกผู้ป่วยให้รู้วิธีลดความกังวลในการผ่าตัด เช่นฝึกการหายใจเข้า-ออกทางปาก
- ศูนย์ดูแลผู้ป่วยจะฝึกให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึกๆ และการไออย่างถูกวิธี เพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนจากปอดหลังการผ่าตัด
- ศูนย์ดูแลผู้ป่วยจะแนะนำวิธีการป้องกันการเกิดท้องผูก เช่นอาหารที่เหมาะสม การลุกเดินจากเตียงเพื่อให้กระเพาะและลำไส้กลับมาทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น
- ศูนย์ดูแลผู้ป่วยจะแนะนำเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การพักฟื้นเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น
- ในกรณีที่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยในการดำรงชีวิตหลังการผ่าตัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพศูนย์ดูแลผู้ป่วยจะแนะนำวิธีการใช้อุปกรณ์ที่ถูกต้อง
- ศูนย์ดูแลผู้ป่วยจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ แผดกดทับ และแนะนำวิธีป้องกัน
- ผู้ป่วยควรงดอาหารและน้ำก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง หรือตามที่แพทย์สั่ง เพื่อป้องกันการสำลักอาหารเข้าไปยังหลอดลมระหว่างการผ่าตัด
- ผู้ป่วยควรทำความสะอาดบริเวณที่ผ่าตัดเช่นอาบน้ำ
- ผู้ป่วยควรตัดเล็บให้สั้น ไม่ทาสีเล็บ ไม่แต่งหน้าเพื่อแพทย์และพยาบาลที่ทำการผ่าตัดจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นในระหว่างการผ่าตัด เช่นการขาดออกซิเจน
- ไม่ควรโกนขนเองบริเวณที่ผ่าตัดเพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดแผลและอาจติดเชื้อโรคได้ขณะทำการผ่าตัด
- งดการใช้ครีมและเครื่องสำอางทุกชนิดก่อนการผ่าตัด
- ในกรณีที่การใช้ยาละลายลิ่มเลือดผู้ป่วยควรงดใช้ก่อนมาผ่าตัด 1 สัปดาห์ หรือตามแพทย์สั่ง
- ควรถอดเครื่องประดับทุกชนิดก่อนการผ่าตัด
- หากผู้ป่วยใส่คอนแทคเลนส์ หรือฟันปลอมควรถอดก่อนการผ่าตัด
- ผู้ป่วยควรตรวจสุขภาพฟันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เพราะหากมีฟันผุอาจมีเชื้อแบคทีเรียที่หากเข้าสู่กระแสเลือดแลัวทำให้ติดเชื้อได้
- ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่ดีครบ 5 หมู่ เพื่อเพิ่มโอกาสให้ร่างกายฟื้นฟูได้เร็วยิ่งขึ้น
- ผู้ป่วยควรดื่มน้ำอย่างน้อย 6-8 แก้วก่อนการผ่าตัดเพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อ
- ผู้ป่วยควรควบคุมน้ำหนัก เพราะหากน้ำหนักตัวเบา หรือ หนัก มากเกินไปจะมีผลต่อการดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัด
- ผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ควรงดการสูบบุหรี่อย่างน้อย 3-6 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการผ่าตัด เช่นความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวายเพราะการสูบบุหรี่ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น
- ผู้ป่วยควรออกกำลังตามคำแนะนำของแพทย์ไม่ต่ำกว่า 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและยืดหยุ่นได้ดีโดยเฉพาะกล้ามเนื้อ เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูได้เร็วขึ้น
- หากผู้ป่วยใช้ยาจำพวกระงับปวดให้ลดปริมาณการใช้ลงก่อนการผ่าตัด เพื่อไม่ให้ร่างกายคุ้นชินกับยาระงับปวดมากเกินไป ยาระงับปวดจะได้มีประสิทธิภาพในการระงับความปวดของผู้ป่วยหลังการผ่าตัด
- หากผู้ป่วยมีการรักษาด้วยยาฮอร์โมนทดแทนให้หยุดการรักษาก่อนการผ่าตัด 3 สัปดาห์ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลังการผ่าตัด
- หากผู้ป่วยมีการทานอาหารเสริมและวิตามินควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์พิจารณาว่าควรหยุดรับประทานหรือไม่ก่อนการผ่าตัด
- ก่อนการผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการตรวจสัญญาณชีพ และต้องมีการเซ็นยินยอมรับการผ่าตัด
- ผู้ป่วยควรมาโรงพยาบาลตามวัน และเวลาตามที่นัดหมาย
การดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัด
- ศูนย์ดูแลผู้ป่วยจะคอยดูแลอย่างใกล้ชิดในห้องพักฟื้น เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยหลังจากฟื้นจากการผ่าตัด
- ศูนย์ดูแลผู้ป่วยจะคอยสอบถามเรื่องความเจ็บปวด โดยจะสอบถามเป็นระดับความเจ็บเพื่อประเมินปริมาณยาที่จะใช้ระงับความเจ็บ
- ศูนย์ดูแลผู้ป่วยจะคอยตรวจสอบบริเวณที่ผ่าตัดที่มีสายยางเพื่อระบายเลือดและของเหลวออกจากบาดแผลว่ามีการหลุด หรือการดึงออกมาของผู้ป่วยหรือไม่
- ศูนย์ดูแลผู้ป่วยจะแนะนำให้ผู้ป่วยหายใจเข้า – ออกตามที่ได้ฝึกมาก่อนการผ่าตัด เพื่อให้ปอดขยายตัวได้เต็มที่ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยขอยาระงับปวดได้น้อยลง
- หลังการผ่าตัดมักจะมีเสมหะในลำคอ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยจะแนะนำวิธีการไอตามที่เคยให้ผู้ป่วยฝึกมา เพื่อลดอาการแผลฉีดขาด และลดการเจ็บแผล
- ศูนย์ดูแลผู้ป่วยจะช่วยมาเปลี่ยนท่านอน หรือพลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมงเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลกดทับ
- หากแพทย์อนุญาติให้รับประทานอาหารศูนย์ดูแลผู้ป่วยจะคอยแนะนำผู้ป่วยให้เริ่มต้นการทานในปริมานน้อยๆ เพื่อสังเกตว่ามีอาการแน่นท้องหรือไม่ หากทานได้ปกติ ก็สามารถรับประทานตามปกติได้ โดยเน้นอาหารจำนวนพวกเนื้อสัตว์ ไข่ นม ผัก และผลไม้ เพราะจะช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอทำให้แผลหายเร็วมากยิ่งขึ้น
- ศูนย์ดูแลผู้ป่วยจะจัดยามาให้ผู้ป่วยรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- ศูนย์ดูแลผู้ป่วยจะคอยแนะนำควรให้ผู้ป่วยฝึกการขับถ่ายให้สม่ำเสมอเพื่อป้องกันอาการท้องผูก
- ผู้ป่วยควรพักผ่อนให้เพียงโดยเฉพาะใน 2 สัปดาห์แรก
จะเห็นได้ว่าการดูแลผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังการผ่าตัดมีขั้นตอนและรายละเอียดในการดูแลหลายขั้นตอนและยังต้องอาศัยความชำนาญ การเอาใจใส่ และเวลาในการดูแล ศูนย์ดูแลผู้ป่วยสำหรับผู้สูงอายุ ศูนย์พักฟื้นหลังผ่าตัด จึงมีความสำคัญมากสำหรับการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดทั้งก่อน และหลัง เพราะนอกจากการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดทั้งก่อนและหลังแล้ว ยังมีการฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วและกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนเดิม
เดอะซีเนียร์เป็นหนึ่งในศูนย์ดูแลผู้ป่วยสูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ที่รับดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดโดยได้มีการออกแบบโปรแกรมที่จะคอยดูแลผู้ป่วย ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจตั้งแต่การเตรียมตัวการผ่าตัดทั้งก่อน หลังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการฟื้นฟูร่างกาย มีการฟื้นฟูสมรรถภาพจากทีมแพทย์ พยาบาลและนักกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญโดยเฉพาะการันตีด้วยประสบการณ์มากกว่า 25 ปี โดยจะมีการประเมินบาดแผลการผ่าตัดเพื่อวางแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพ และติดตามอาการและประเมินอย่างต่อเนื่อง พร้อมอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่จะช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยหลังการผ่าตัดให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติได้เร็วที่สุด
สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมของโรงพยาบาลเดอะซีเนียร์ได้ที่
โทร : 090-885-2985, 094-498-1115, 02-001-4452
LINE OFFICIAL : @thesenior
Leave a Reply