วิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียง

ความรู้และวิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้สูงอายุอย่างมืออาชีพ

ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้สูงอายุอย่างไร ต้องใช้วิธีการและอุปกรณ์ใดบ้าง

        ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือผู้สูงอายุนั้น เป็นเรื่องที่ยากลำบากไม่ใช่น้อยสำหรับครอบครัวหรือผู้ดูแล เพราะผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือผู้สูงอายุ มีข้อจำกัดด้านสุขภาพและข้อควรระวังหลายอย่างที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ ซึ่งหากคนในครอบครัวไม่มีเวลามากพอหรือมีภาระหลายอย่าง ก็จะทำให้เกิดความเหนื่อยล้าในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือผู้สูงอายุได้

        เพราะผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือผู้สูงอายุนั้น เมื่อต้องนอนอยู่บนเตียงนาน ๆ ก็จะเกิดปัญหาสุขภาพหลายอย่างตามมา อีกทั้งการที่ต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา ก็ยังเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การกินอาหาร, การขับถ่าย หรือการทำความสะอาดร่างกายด้วย

        ดังนั้นการจะดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเองที่บ้านหรือให้ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่มีความเชี่ยวชาญดูแล ก็ต้องคำนึงถึงวิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้สูงอายุอย่างถูกต้อง รวมถึงต้องมีอุปกรณ์จำเป็นที่จะช่วยบรรเทาอาการที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยติดเตียงด้วย

อาการแทรกซ้อนที่มักพบในผู้ป่วยติดเตียง

  • กลืนอาหารลำบาก ผู้ป่วยติดเตียงมักประสบกับภาวะกลืนอาหารลำบาก ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของช่องปาก, หลอดอาหาร, มีความเจ็บป่วยทางสมอง หรือองศาในการนั่งกินอาหารไม่ถูกต้อง จึงทำให้ผู้ป่วยกลืนอาหารลำบาก และอาจเกิดการสำลักอาหารได้ ซึ่งจะส่งผลให้ปอดติดเชื้อ หรืออาจมีอาหารเข้าไปอุดตันทางเดินหายใจ
  • ปอดแฟบ การนอนนาน ๆ ทำให้ปอดของผู้ป่วยไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ เพราะผู้ป่วยติดเตียงจะหายใจตื้น ทำให้ปอดไม่ขยายและแฟบลงในที่สุด ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการเหนื่อยหอบ และมีโอกาสเกิดปอดติดเชื้อมากขึ้น
  • กล้ามเนื้อแขนขาลีบnเพราะกล้ามเนื้อของผู้ป่วยติดเตียงขาดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน ๆ จนกล้ามเนื้อเกิดอาการฝ่อลงและไม่มีแรง ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ตามปกติ
  • มีแผลกดทับ เกิดจากการที่ผิวหนังถูกกดทับอยู่กับที่นอนเป็นเวลานาน ๆ จึงขาดเลือดไปเลี้ยง และกลายเป็นแผลเรื้อรัง ซึ่งมักเกิดบริเวณแผ่นหลัง หรือตามปุ่มกระดูก เช่น ท้ายทอย สะบัก ก้นกบ ส้นเท้า และข้อศอก อันนำมาถึงภาวะแทรกซ้อน คือความเจ็บปวด ไข้ และการติดเชื้อ
  • ข้อติด การที่ผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้งอหรือเหยียดข้อได้ยาก บริเวณที่มักพบอาการข้อติด คือ ข้อนิ้วมือและข้อมือ, ข้อศอก, หัวไหล่, ข้อสะโพก, เข่า, ข้อเท้า ตัวอย่างอาการที่เป็น คือ เมื่อผู้ป่วยกำมือหรือกางมือออก จะกำและกางได้ไม่สุด อีกทั้งยังรู้สึกเจ็บบริเวณข้อ
  • มีภาวะสับสน ผู้ป่วยติดเตียงมักมีอาการสมองเสื่อม หรือผู้ป่วยอาจเคยมีอาการเส้นเลือดในสมองตีบมาก่อน จึงทำให้สมองของผู้ป่วยทำงานได้ไม่เท่าคนปกติ อาจไม่สามารถรับรู้ช่วงเวลา และหลงวัน มีอาการหงุดหงิด ก้าวร้าว นอนไม่หลับ มีพฤติกรรมทางเพศไม่เหมาะสม หรือทำเรื่องเดิมซ้ำ ๆ จนเกิดความลำบากในการดูแล

        สภาวะและอาการแทรกซ้อนของผู้ป่วยติดเตียงนี้ จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง หรือเคยผ่านการอบรมการดูแลผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุมาก่อน โดยต้องคอยดูแลเรื่องต่าง ๆ ของผมป่วยและผู้สูงอายุ ทั้งในเรื่องการใช้ชีวิตประจำวันและการทำกายภาพบำบัด

วิธีดูแลผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุ

        การดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือผู้สูงอายุนั้น จะต้องดูแลทั้งในเรื่องการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย และการทำกายภาพบำบัด เพื่อป้องกันและบรรเทาอาการแทรกซ้อนของผู้ป่วยติดเตียง

การดูแลกิจวัตรประจำวัน

1. การกินอาหาร การดูแลผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุให้กลืนอาหารได้สะดวกขึ้น เพื่อผลที่ดีในระยะยาวควรให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุฝึกหายใจ โดยการปรับหัวเตียงให้ทำมุม 40-45 องศา แล้วให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุนั่งพิงอยู่บนเตียง เพื่อฝึกการหายใจ ด้วยการเป่าปาก 3 ครั้ง และหายใจเข้า-ออก โดยหายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องแฟบ ทำเช่นนี้ 3 ครั้งจากนั้นให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุฝึกการใช้กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ปากและลำคอ ด้วยการขมวดคิ้ว ย่นจมูก สบฟัน ทำปากจู๋ ก้มคอ และกลืนน้ำลาย โดยทำทุกอย่างซ้ำ 3 ครั้ง เพื่อให้กล้ามเนื้อบนใบหน้าได้ขยับตัว

และควรให้ผู้ป่วยฝึกกลืนอาหารโดยใช้อาหารที่มีลักษณะข้นหนืด เช่น มันบด ฟักทองบด โจ๊กข้น กล้วยน้ำว้าบดส่วนเวลากินอาหาร ไม่ว่าจะให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุกินเองหรือผู้ดูแลเป็นคนป้อน ก็ควรปรับหัวเตียงให้ทำมุม 90 องศา และให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุนั่งพิงหัวเตียงขณะกินอาหาร เพื่อให้กลืนอาหารได้ง่ายขึ้น โดยอาหารควรเป็นอาหารอ่อน ๆ ที่เคี้ยวและกลืนง่าย หากเป็นการป้อนอาหาร ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงควรให้ผู้ป่วยก้มหน้าเพื่อกลืนอาหาร ไม่ควรให้ผู้ป่วยแหงนคอ เพราะจะทำให้สำลักได้นอกจากนี้ หลังทานอาหารแล้ว ควรได้นั่งเฉยๆ เป็นเวลา 60 นาที โดยไม่นอนลงหรือจำกิจกรรมที่ต้องใช้แรง เพื่อลดโอกาสไอสำลัก

2. การดูแลสุขอนามัยในการขับถ่าย ผู้ป่วยติดเตียงบางท่านจำเป็นจะต้องมีการใช้สายสวนปัสสาวะหรือถุงเก็บปัสสาวะ เพื่อให้การถ่ายเบาเป็นไปอย่างสะดวกและไม่เลอะเทอะ แต่ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงจำเป็นจะต้องใส่ใจสุขอนามัยของผู้ป่วยอยู่เสมอ ต้องคอยดูว่าถุงปัสสาวะเต็มหรือยัง และต้องหมั่นทำความสะอาดสายสวนปัสสาวะอยู่เสมอและเมื่อนำถุงปัสสาวะมาใช้งานกับผู้ป่วย

ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงควรแขวนถุงเก็บปัสสาวะให้ต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะประมาณ 30 เซ็นติเมตรผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงอาจใช้หม้อนอนเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถขับถ่ายบนเตียงได้ โดยผู้ดูแลควรหมั่นทำความสะอาดอวัยวะขับถ่าย ทั้งถ่ายหนักและถ่ายเบาของผู้ป่วยให้สะอาดอยู่เสมอ รวมถึงให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุดื่มน้ำสะอาดให้ได้เพียงพอ เพื่อให้ปัสสาวะไม่ข้นหรือมีสีเข้ม และเพื่อให้การถ่ายหนักเป็นไปโดยสะดวก

3. การทำความสะอาดร่างกาย ผู้ป่วยติดเตียงจำเป็นต้องมีการทำความสะอาดร่างกายเช่นเดียวกับคนทั่วไป แต่การจะให้ผู้ป่วยติดเตียงลุกไปนั่งอาบน้ำในห้องน้ำนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก หรือในผู้ป่วยบางราย อาจทำไม่ได้เลย จึงต้องมีการเช็ดตัวผู้ป่วยและทำความสะอาดช่องปากของผู้ป่วยบนเตียงวิธีการทำความสะอาดร่างกายของผู้ป่วยติดเตียงนั้น สามารถทำความสะอาดด้วยผ้าชุบน้ำเพียงอย่างเดียวหรือจะใช้ผ้าชุบสบู่ก็ได้ ก่อนลงมือเช็ดตัวให้ผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงควรปูผ้ายางกันเปียกลงบนที่นอนเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ที่นอนเปียก โดยใช้หมอนพลิกตัวผู้ป่วยหรือผ้ายกตัวผู้ป่วยเข้าช่วย

เพื่อให้ปูผ้าได้สะดวกขึ้นจากนั้นใช้ผ้าขนหนูเนื้อนุ่มชุบน้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิห้องโดยอาจผสมสบู่อ่อน ๆ ลงไปหรือไม่ผสมก็ได้ จากนั้นบิดผ้าให้หมาด แล้วนำมาเช็ดตัวผู้ป่วย ซึ่งหากใช้ผ้าชุบน้ำสบู่ ก็ควรใช้ผ้าชุบน้ำเปล่าเช็ดตัวผู้ป่วยซ้ำหลาย ๆ ครั้งจนแน่ใจว่าสะอาด นอกจากนี้ยังสามารถทำสบู่บนผ้าขนหนูให้เป็นฟองได้ หากต้องการการทำความสะอาดให้กับผู้ป่วยที่ไม่ได้ทำความสะอาดร่างกายอย่างละเอียดเป็นเวลานาน ๆ เมื่อเช็ดตัวให้ผู้ป่วยเรียบร้อยแล้ว ควรทาแป้งบาง ๆ เพื่อลดผดผื่นหรืออาจทาโลชั่นสูตรอ่อนโยน ในกรณีที่ผู้ป่วยมีผิวแห้ง นอกจากนี้ยังต้องหมั่นตัดเล็บมือและเล็บเท้าให้ผู้ป่วยเสมอ เมื่อเห็นว่าเล็บยาวเกินไปส่วนการสระผมให้กับผู้ป่วยติดเตียงนั้น

ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงสามารถนำอ่างสระผมผู้ป่วยติดเตียง มาวางไว้บนเตียงแล้วให้ผู้ป่วยวางศีรษะคร่อมบนอ่างสระผม ก่อนจะทำการสระผมให้ผู้ป่วยตามปกติ ควรใช้แชมพูสูตรอ่อนโยน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยแสบตา หากฟองแชมพูบังเอิญไหลเข้าตา และหากผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีมากกว่าหนึ่งคน ก็สามารถให้อีกคนหนึ่งยืนถืออ่างสระผมไว้ที่หัวเตียงได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ที่นอนเปียกหรือเลอะเทอะจากการสระผม

การทำกายภาพบำบัด
        ในผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่นอนติดเตียงนาน ๆ ทั้งกล้ามเนื้อและข้อพับต่าง ๆ จะขาดการใช้งาน ทำให้กล้ามเนื้อลีบและข้อติด ดังนั้นผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงจึงควรทำกายภาพบำบัดให้ผู้ป่วยเป็นประจำ เพื่อให้กล้ามเนื้อผู้ป่วยไม่ลีบ และเพื่อลดอาการข้อติด ซึ่งในการทำกายภาพบำบัดนั้น หากเป็นการทำที่บ้าน ควรมีผู้ดูแลช่วยกันทำสองคน แต่หากผู้ป่วยอยู่ในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ กายทำกายภาพบำบัดก็จะสะดวกมากขึ้น

สำหรับการทำกายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วยติดเตียงเบื้องต้น ที่ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงสามารถทำได้เองที่บ้าน มีดังนี้

  • การยกแขนและขาของผู้ป่วยขึ้น-ลง เพื่อให้กล้ามเนื้อได้เคลื่อนไหว
  • การพับและยืดบริเวณข้อพับแขน ข้อพับขา ข้อมือ ข้อเท้ารวมทั้งนิ้วมือและนิ้วเท้า เพื่อช่วยป้องกันและบรรเทาอาการข้อติด
  • การหมุนข้อมือและข้อเท้าผู้ป่วย เพื่อลดอาการข้อติด และเพื่อให้ข้อมือ ข้อเท้าของผู้ป่วยแข็งแรงขึ้น
  • การบริหารกล้ามเนื้อแฮมสตริง ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่อยู่บริเวณด้านหลังขาส่วนบน โดยการยกขาผู้ป่วยขึ้นและงอเข่าผู้ป่วยช้า ๆ จนชิดอก
  • ควรใช้หมอนพลิกตัวช่วยพลิกตัวผู้ป่วยทุกวัน เพื่อป้องกันแผลกดทับ
  • หากผู้ป่วยยังพอลุกนั่งได้ ควรให้ผู้ป่วยบริหารปอดด้วยการฝึกหายใจ เพื่อลดอาการปอดแฟบ

และในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้านนั้น ก็ควรมีอุปกรณ์จำเป็นในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงให้พร้อม ดังต่อไปนี้

  • เตียงและที่นอนสำหรับผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุ
  • ที่นอนลมสำหรับผู้ป่วยติดเตียงแบบลอนหรือแบบรังผึ้ง
  • หมอนพลิกตัวผู้ป่วย
  • หม้อนอนสำหรับการถ่ายอุจจาระ
  • ถุงฉี่และสายสวนปัสสาวะ
  • อ่างสระผมผู้ป่วยติดเตียง
  • ผ้ายกตัว เพื่อใช้เวลาต้องการยกตัวผู้ป่วย
  • ผ้ายางสำหรับรองกันที่นอนเปียกเวลาทำความสะอาดร่างกายผู้ป่วย
  • เครื่องผลิตออกซิเจนสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องใช้
  • อุปกรณ์ยกตัวผู้ป่วย ในกรณีที่ต้องนำผู้ป่วยออกจากเตียง
  • รถเข็น ใช้สำหรับการพาผู้ป่วยไปยังที่ต่าง ๆ

        ทั้งนี้การดูแลผู้ป่วยติดเตียงด้วยตัวเองที่บ้านนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนทั่วไป และอาจทำให้ผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นเวลานาน ๆ เกิดความเครียดได้ ดังนั้นหากให้ผู้ป่วยได้อยู่ในความดูแลของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพและมีความชำนาญ ก็จะมั่นใจได้ว่าผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และถูกต้องตามหลักการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงอย่างแน่นอน

        ดังเช่นที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เดอะ ซีเนียร์ ซึ่งมีประสบการ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงมากกว่า 20 ปี อีกทั้งยังมีทีมพยาบาลวิชาชีพ พร้อมทีมงานผู้ช่วยทางการพยาบาลที่มีความชำนาญในการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงโดยเฉพาะ ผู้ป่วยจึงได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง และยังได้ทำกายภาพบำบัดอย่างครบวงจรอีกด้วย เพราะที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เดอะ ซีเนียร์ มีเครื่องมือและอุปกรณ์กายภาพบำบัดที่มีคุณภาพ ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถทำกายภาพบำบัดได้กับทุกส่วนของร่างกาย ภายใต้การดูแลของนักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญด้วยเหตุนี้ เดอะ ซีเนียร์ จึงเป็นศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่ส่งผลดีกับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก และยังช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัวผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุอีกด้วย

สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมของโรงพยาบาลเดอะซีเนียร์ได้ที่
โทร : 090-885-2985, 094-498-1115, 02-001-4452
LINE OFFICIAL : @thesenior