ศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

ทำไมผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ถึงควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด

ทำไมผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ถึงควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด

พฤติกรรมของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่เปลี่ยนแปลงไป กับการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์

           เราทุกคนล้วนต้องเคยที่จะหลงลืมเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังนึกถึง สิ่งที่กำลังตั้งใจจะลงมือทำ หรืออาจเกิดการลืมชื่อหรือพูดชื่อของสิ่งของหรือชื่อคนที่เคยรู้จักไม่ออกไปชั่วขณะทั้ง ๆ ที่ชื่อเหล่านั้นให้ความรู้สึกที่เหมือนกับว่ากำลังติดอยู่ที่บริเวณปลายลิ้นเพียงแค่เท่านั้น โดยการหลงลืมแบบชั่วคราวดังกล่าวนี้ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ไม่อันตรายและเป็นเรื่องธรรมดาที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทั่วไป เนื่องจากการจัดระเบียบด้านความคิดและความทรงจำของสมองที่เกิดความผิดพลาดไปในชั่วขณะเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามนอกเหนือไปจากการหลงลืมในลักษณะชั่วคราวแล้วนั้น ก็ยังมีการหลงลืมอีกรูปแบบหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นการหลงลืมในลักษณะของการลืมแบบถาวร ที่ไม่ว่าจะทำการนึกถึงสักเท่าไหร่ก็ไม่สามารถฟื้นความทรงจำดังกล่าวให้กลับคืนมาได้อีกต่อไป

           โดยอาการหลงลืมแบบถาวรดังกล่าวนี้ถือได้ว่าเป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) ซึ่งถือเป็นภาวะสมองเสื่อมรูปแบบหนึ่งที่มักจะพบเจอได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และเป็นภาวะที่ส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อความสามารถในการคิด การจดจำ และการตัดสินใจ จนส่งผลให้พฤติกรรมในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์เกิดเปลี่ยนแปลงไปมากมายจนทำให้ในท้ายที่สุดแล้วผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์จึงไม่สามารถที่จะดำเนินชีวิตได้ด้วยตัวเองอีกต่อไปและต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และนี่คือเหตุผลว่าทำไมผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ถึงควรที่จะได้รับการดูแลจากผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์อย่างใกล้ชิด

 

เหตุผลที่ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด

ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ไม่สามารถสื่อสารความต้องการของตัวเองออกมาได้

           โรคอัลไซเมอร์เป็นภาวะสมองเสื่อมไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ แต่เกิดขึ้นจากการสะสมโปรตีนที่มีชื่อว่าเบต้า-อะไมลอยด์ (Beta-Amyloid) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำให้เนื้อเยื่อและเซลล์สมองเกิดการเสื่อมและฝ่อลงจนส่งผลทำให้สมองไม่สามารถทำการหลั่งและควบคุมสารเคมีในสมอง หรือสารสื่อประสาท Acetylcholine ให้อยู่ในระดับที่เป็นปกติได้อีกต่อไป ซึ่งความบกพร่องในการควบคุมสารเคมีในสมองดังกล่าวนี้ถือได้ว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่จะทำให้สมองเกิดการเสื่อมสภาพจนทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของสมองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ลดลง       

           โดยสมองส่วนแรกที่จะเกิดการเสื่อมสภาพในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์นั้นจะเป็นสมองในส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งทำหน้าที่ในการช่วยแปลงความทรงจำระยะสั้นให้กลายมาเป็นความทรงจำในระยะยาว ส่งผลให้เมื่อสมองส่วนฮิปโปแคมปัสถูกทำลายลงจนไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติอีกต่อไป ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์จึงไม่สามารถที่จะจดจำหรือเรียนรู้เรื่องราวใหม่ ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นตรงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิม รวมถึงยังอาจเกิดการหลงลืมด้วยว่าในตอนนี้ตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ และมีความต้องการเกี่ยวกับสิ่งใดบ้าง จนทำให้ไม่สามารถบอกกล่าวความต้องการที่แท้จริงของตัวเองออกมาให้ผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ทราบได้

 

ผู้ป่วยอัลไซเมอร์สูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน

           อาการเสื่อมของสมองที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ เป็นอาการเสื่อมที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นตามระยะเวลาของการดำเนินโรคที่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งในระยะแรกผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์อาจจะสังเกตได้ว่า ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ในระยะนี้อาจมีเพียงแค่อาการหลง ลืม หรือสับสน จนทำให้เกิดปัญหาที่ส่งผลต่อวิธีในการพูดคุยสื่อสาร หรือการหลงทิศหลงทางในบางครั้งโดยที่ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายกับตัวผู้ป่วยเพราะการหลงลืมดังกล่าวเป็นการหลงลืมแบบชั่วคราวเท่านั้น

           แต่ถ้าหากอาการของโรคอัลไซเมอร์ดำเนินไปจนถึงในระยะปานกลาง หรือระยะสุดท้าย ซึ่งเป็นระยะที่การเสื่อมสภาพและการฝ่อของสมองเกิดขึ้นกับสมองในส่วนอื่น ๆ นอกเหนือไปจากสมองในส่วนฮิปโปแคมปัส จนทำให้สมองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ถูกทำลายลงจนทำให้ไม่สามารถใช้งานเพื่อการควบคุมและสั่งการได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกต่อไป ส่งผลให้ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ในระยะปานกลาง หรือระยะสุดท้าย จึงมีการแสดงออกถึงอาการของโรคอัลไซเมอร์ในระดับที่รุนแรงมากขึ้นกว่าระยะอื่น ๆ จนส่งผลให้ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างเช่น ความสามารถในการรับประทานอาหาร ความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย และความสามารถในการช่วยเหลือตนเองจนต้องพึ่งพาผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ให้คอยจัดการดูแลกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ให้

 

 

ผู้ป่วยอัลไซเมอร์มีอุปนิสัยและความคิดความอ่านที่เปลี่ยนแปลงไป

         การเสื่อมลงของสมองในส่วนต่าง ๆ ไม่ได้ก่อให้เกิดผลลัพธ์เพียงแค่ในด้านของพฤติกรรมและความสามารถในการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ภาวะสมองเสื่อมที่เกิดขึ้นจากโรคอัลไซเมอร์ยังส่งผลทำให้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ต้องเผชิญหน้ากับอีกหนึ่งปัญหาใหญ่นั่นก็คือปัญหาเกี่ยวกับอุปนิสัยของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ที่เปลี่ยนแปลงไป ยกตัวอย่างเช่น จากผู้สูงอายุที่เคยเป็นคนร่าเริง สนุกสนาน พูดคุยง่าย ก็อาจจะกลายมาเป็นผู้สูงอายุที่ขี้หงุดหงิด เครียดง่าย ฉุนเฉียว เอาแต่ใจ และโมโหร้ายโดยไม่มีสาเหตุ

           และนอกจากนี้ ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ยังอาจมีพฤติกรรมและความคิดความอ่านที่แตกต่างออกไปจากเดิมด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น การปฏิบัติตามคำสั่งของคนแปลกหน้า หรือการชอบหนีออกไปนอกบ้านในช่วงเวลากลางคืน เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวนี้ถือได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่มีความอันตรายเป็นอย่างมากเพราะถ้าหากผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์เกิดปล่อยให้ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์คลาดสายตาแม้เพียงแค่เศษเสี้ยวนาทีละก็ ก็อาจจะทำให้ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์เกิดการสูญหาย หรือได้รับอันตรายที่ไม่คาดฝันได้

           อย่างไรก็ตาม โรคอัลไซเมอร์ถือได้ว่าเป็นโรคที่มีระยะเวลาในการดำเนินของโรคที่ค่อนข้างยาวนานประมาณ 8-10 ปี หรือในบางรายอาจจะมีระยะเวลาในการดำเนินโรคที่นานกว่านั้น ส่งผลให้การที่จะต้องคอยดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่มีพฤติกรรม อุปนิสัย และพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่แตกต่างออกไปจากเดิมอยู่ตลอดเวลานั้น อาจส่งผลให้ผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์เกิดความเครียดสะสมจนไม่เป็นผลดีต่อทั้งตนเองและทั้งผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ในระยะยาวได้ เพราะฉะนั้นแล้วการเลือกใช้บริการศูนย์ดูแลผู้ป่วยหรือเนอสซิ่งโฮมเพื่อการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ และผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้มีเวลาสำหรับการพักผ่อนเพื่อคลายเครียด และได้ชาร์จพลังของตัวเองให้เต็มเปี่ยมก่อนการกลับมารับมือกับผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์อีกครั้ง

           โดยสำหรับลูกหลานหรือญาติของผู้สูงอายุท่านไหนที่กำลังมองหาศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงหรือเนอสซิ่งโฮม เพื่อการช่วยดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง ที่ The Senior Health Care เราคือเนอสซิ่งโฮมที่ให้บริการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยอัลไซเมอร์แบบครบวงจร โดยทีมดูแลที่มีความเชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยอัลไซเมอร์โดยเฉพาะ และนอกจากนี้เรายังมีการวางแผนการบำบัดเพื่อการฟื้นฟูผู้ป่วยผ่านการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสำหรับอาการของโรคและพฤติกรรมของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี เพื่อช่วยให้ลูกหลานหรือญาติของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ทุกท่านสามารถมั่นใจได้ว่า ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ในครอบครัวของท่านจะได้รับการดูแลทั้งในด้านของอาหารและการบำบัดฟื้นฟูดูแลอย่างครบถ้วนและเหมาะสมตลอดระยะเวลาที่พักอาศัยอยู่ที่ The Senior Health Care อย่างแน่นอน

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://senior.co.th
E-mail : seniortalk5@gmail.com
Tel : 090-885-2985

Leave a Reply

Your email address will not be published.