ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้ป่วยหลัง stroke ต้องดูแลหลังผ่าตัดอย่างไร ? เลือก เนอร์สซิ่งโฮม ใกล้ฉัน ที่ไหนดี?

ผู้ป่วยหลัง stroke ต้องดูแลหลังผ่าตัดอย่างไร ? เลือก เนอร์สซิ่งโฮม ใกล้ฉัน ที่ไหนดี?

กังวลเรื่องการฟื้นฟูผู้ป่วยหลัง stroke? แนะนำวิธีฟื้นฟู และโรงพยาบาลที่รับดูแลผู้สูงอายุที่วางใจได้

โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งหลายคนอาจเรียกติดปากว่า สโตรก (Stroke) คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เนื่องจากหลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือ แตก ส่งผลให้เซลล์สมองถูกทำลาย จนเกิดความพิการ อัมพฤกษ์ อัมพาต ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตเพียงลำพัง หรือช่วยเหลือตัวเองได้ เมื่อทำการรักษาโดยแพทย์แล้ว ตัวแปรสำคัญในการฟื้นฟูร่างกายเพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาดำเนินชีวิตประจำวันได้ดังเดิม นอกจากแพทย์ และญาติๆ คือ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด และผู้ดูแล ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการฟื้นฟูและทำกายภาพบำบัด

อาการของผู้ป่วยและการฟื้นฟู

  • ร่างกายอ่อนแรง ขยับแขนขาลำบาก เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
    • ฟื้นฟูโดยการทำกายภาพบำบัด การฝึกเหยียดแขน การฝึกการทรงตัว การเปลี่ยนอริยาบถ ฝึกเดิน ยืน การขึ้นลง บันได
    • ทำกิจกรรมบำบัด ฝึกทักษะในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การฝึกหายใจ การแต่งตัว การอาบน้ำ เป็นต้น
    • ออกแบบที่อยู่อาศัยและจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยต่อผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยยังคงต้องการการดูแลจากญาติ พยาบาล และผู้ดูแล รวมถึงป้องกันความเสี่ยงในการหกล้ม

เทคนิคการดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง เทคนิคดูแลผู้ป่วย Stroke เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน

  • แผลกดทับ การยึดติดของข้อต่อ และอาการแขนขาบวม ป้องกันด้วยการจัดท่านอน
    • สำหรับท่านอนควรมีการเปลี่ยนท่าทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง
    • ท่านอนหงาย จัดท่าให้นอนในแนวตรง โดยที่หมอนไม่สูงจนเกินไป ให้ไหล่สูงขึ้นเล็กน้อยจากการสอดหมอนเข้าไป ข้อศอกตรงและหงายมือ จัดขาให้ตรงโดยใช้หมอนช่วยหนุนใต้สะโพก
    • การนอนตะแคงทับข้างที่ปกติ จัดศีรษะของผู้ป่วยให้โน้มไปข้างหน้าเล็กน้อย ใช้หมอนเพิ่มอีก 3-4 ใบ ใบแรกใช้หนุนหลังส่วนล่าง ใบที่สองรองใต้แขน ใบที่สามและสี่รองขาข้างที่อ่อนแรง
    • การนอนตะแคงทับข้างที่อ่อนแรง จัดศีรษะของผู้ป่วยให้โน้มไปข้างหน้าเล็กน้อย ใช้หมอนเพิ่ม 3 ใบ ใบแรกหนุนหลังส่วนล่าง เพื่อให้ลำตัวของผู้ป่วยอยู่ในแนวตรง ใบที่สองรองแขน โดยให้แขนข้างที่อ่อนแรงยื่นไปข้างหน้า สิ่งสำคัญ คือ จัดสะบักและข้อไหล่ไปทางด้านหน้า รวมถึงข้อศอกให้ตรง และหงายมือผู้ป่วยไว้ ใบที่สามรองขาข้างที่ปกติ โดยงอขาเล็กน้อย ส่วนขาที่อ่อนแรงให้อยู่ด้านหลังในลักษณะเหยียดขา งอเข่าเล็กน้อย
  • การกลืนลำบาก มีการจัดท่านั่งให้รับประทานอาหารง่ายขึ้น และไม่เสี่ยงต่อการสำลัก ในรายที่นอนติดเตียง ให้นอนศีรษะสูง และก้มตัวมาด้านหน้า เพื่อช่วยให้การกลืนอาหารเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป อาหารที่เหมาะสม คือ อาหารชิ้นเล็กๆ ขนาดพอดีคำ ไม่แข็งจนเกินไป ไม่ควรมีน้ำมากเกินไป ผู้ดูแลให้เวลาผู้ป่วยในการทานอาหาร เพื่อให้ผู้ป่วยผ่อนคลายไม่กดดัน ขณะทานไม่ควรมีสิ่งเร้าอื่นๆ ที่เบี่ยงเบนความสนใจผู้ป่วยจากการทานอาหาร เช่น การเปิดโทรทัศน์ ความสะอาดของฟันและภายในปากนับเป็นสิ่งที่ต้องดูแลควบคู่กันไปด้วย
  • ปัญหาในด้านการสื่อสาร ญาติ พยาบาล หรือผู้ดูแล ควรสื่อสารกับผู้ป่วยด้วยคำพูดหรือประโยคสั้นๆ ช้าๆ ในกรณีที่ผู้ฟังไม่เข้าใจให้ผู้ป่วยพูดอีกครั้ง หรืออาจใช้วิธีอื่นๆ เพื่อช่วยในการสื่อสาร เช่น การเขียน การใช้ภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถพูดได้ดีขึ้น สอนผู้ป่วยบริหารกล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูด โดยการนวดที่ใบหน้า ลิ้น และริมฝีปาก กระตุ้นการใช้ปากด้วยกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการออกเสียงสระ
  • กล้ามเนื้อเกร็ง ลดการเกร็งด้วยการออกกำลังกายยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อสร้างความยืดหยุ่น ฝึกการเคลื่อนไหวข้อเพื่อไม่ให้ข้อยึดติด ทั้งแบบ Active Exercise (ผู้ป่วยเป็นผู้ออกแรงเอง) และแบบ Passive Exercise (ให้ผู้อื่นหรือแรงจากภายนอกช่วยในการออกกำลังกาย)

เพื่อให้การดูแลรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยหลัง stroke ได้ผลมากที่สุด ต้องฟื้นฟูผู้ป่วยโดยเร็วที่สุด โดยเฉพาะหลังเกิดอาการ ในช่วง 3-6 เดือนแรกที่ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็ว และควรมีการร่วมมือกันทุกฝ่าย ทั้ง ตัวผู้ป่วย ญาติ แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด และผู้ดูแล

การเลือกศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงใกล้ฉัน ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในกรุงเทพ มาช่วยรักษา ฟื้นฟู ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ช่วยแบ่งเบาภาระ ลดความเครียดและความกังวลให้แก่ลูกหลานได้เป็นอย่างดี เพราะมีการประเมินตามอาการ และออกแบบโปรแกรมฟื้นฟูให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย รวมทั้งมีความพร้อมด้านทีมวิชาชีพที่มีประสบการณ์และสถานที่ ที่เหมาะแก่ฟื้นฟู

หากคุณกำลังมองหา เนอร์สซิ่งโฮม ใกล้ฉัน หรือ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในกรุงเทพ นึกถึง The Senior Health Care โรงพยาบาลผู้สูงอายุ และศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูซึ่งรับดูแลครอบคลุมผู้ป่วยหลายกลุ่ม เช่น ดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ดูแลผู้ที่มีอาการอัลไซเมอร์ระยะสุดท้าย ด้วยทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง และผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง รวมถึงทีมงานนักกายภาพบำบัด พร้อมช่วยเหลือและบำบัดอาการต่างๆ ให้ผู้ที่คุณห่วงใย เช่น กายภาพฟื้นฟูหลังจากออกโรงพยาบาล กายภาพฟื้นฟูหลังผ่าตัด ทำกายภาพแก้อาการปวดหลังร้าวลงขา ทำกายภาพแก้ปวดหลัง กายภาพสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น

ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วย สามารถพักฟื้นและฟื้นฟูภายในบ้านพักหรือเนอร์สซิ่งโฮมอันอบอุ่นปลอดภัย มีการออกแบบให้เอื้อต่อการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลหลังผ่าตัด วางใจเรื่องความสะอาดและสุขอนามัยเพราะมีเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดที่พักเป็นประจำ อุ่นใจกับทำเลของโรงพยาบาลที่รับดูแลผู้สูงอายุ เดอะซีเนียร์ ซึ่งอยู่ใกล้โรงพยาบาลชั้นนำถึง 9 แห่ง พร้อมบริการรถพยาบาลในกรณีฉุกเฉิน คุณสามารถฝากคนสำคัญไว้ให้เราดูแลได้อย่างสบายใจ


ติดต่อขอรายละเอียดเนอร์สซิ่งโฮม ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ได้ที่ลิงก์ด้านล่าง
โทร : 090-885-2985, 094-498-1115, 02-001-4452
LINE OFFICIAL : @thesenior