ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง ฟื้นฟูได้! ด้วยการดูแลจากศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง ฟื้นฟูได้! ด้วยการดูแลจากศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ช่วงเวลาทองแห่งการฟื้นฟูดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองให้ได้ผล

โรคหลอดเลือดสมอง (stoke) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อัมพฤกษ์ อัมพาต

คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเพราะหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อสมองถูกทำลาย ซึ่งสมองของเรามีหน้าที่ควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆ ในร่างกาย เมื่อสมองส่วนใดถูกทำลายย่อมส่งผลต่อการทำงานของร่างกายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสมองส่วนนั้น

โรคหลอดเลือดสมองนับเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตลำดับต้นๆ โดยเป็นสาเหตุเสียชีวิตเป็นอันดับ 2 ของคนที่มีอายุมากกว่า 60 ปีทั่วโลก และเป็นอันดับ 5 ของคนที่มีอายุ 15-59 ปี จากข้อมูลของ World Stroke Organization พบว่า มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั่วโลก 80 ล้านคน ในจำนวนนี้มีผู้พิการ 50 ล้านคน และเสียชีวิตประมาณ 6 ล้านคนต่อปี โรคนี้เป็นโรคที่สามารถเกิดซ้ำได้ หากไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปราศจากการป้องกัน และฟื้นฟูอย่างถูกต้องเหมาะสม

อาการของโรคหลอดเลือดสมอง

  • อ่อนแรง ชา หรือสูญเสียความรู้สึกที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นที่ซีกใดซีกหนึ่ง
  • ส่งผลต่อการพูด เช่น พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ พูดอ้อแอ้
  • ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว เช่น เดินเซ เสียการทรงตัว
  • หน้าเบี้ยวหรือปากเบี้ยว
  • เมื่อทานอาหาร จะมีอาหารไหลออกมาจากปาก หรือน้ำลายไหลออกมาจากมุมปาก
  • มีปัญหาด้านการมองเห็น เช่น มีอาการตามัว หรือเห็นภาพซ้อน
  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หรือซึมลง ( Altered Consciousness)

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดสมอง

  • มีปัญหาในการกลืนอาหาร อาจสำลัก และเกิดปอดอักเสบหรือติดเชื้อในปอดได้
  • ไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะ อาจติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ จนทำให้ผู้ป่วยมีอารมณ์รุนแรง และอาจเกิดภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล
  • ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับการคิด การวิเคราะห์ การตัดสินใจลดลง สูญเสียความทรงจำ
  • เลือดออกในอวัยวะต่าง ๆ เช่น เลือดออกในกะโหลกศีรษะ เลือดออกในทางเดินอาหาร
  • สมองบวม (Cerebral Edema)
  • แผลกดทับ
  • โรคเบาหวาน

จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยเกิดอาการบกพร่องหรือความพิการ ดังนั้นนอกจากการรักษาด้วยยาจากแพทย์ ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายด้วย ผู้ป่วยต้องทำการฟื้นฟูอาการต่างๆ เพื่อไม่ให้อาการทรุดหนัก และป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ โรคหลอดเลือดสมองมี Golden Period หรือ ช่วงเวลาทองในการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังผ่านช่วงวิกฤต ซึ่งอยู่ในช่วง 3-6 เดือนหลังตรวจพบ (โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรก ) จึงควรฟื้นฟูตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นและต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น และเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติโดยเร็วที่สุด

ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง มีการทำกายภาพบำบัดที่แตกต่างกัน เพราะผู้ป่วยแต่ละคนมีอาการที่แตกต่างกัน ข้อจำกัดและข้อควรระวัง ความรุนแรงของโรค รวมถึงศักยภาพไม่เหมือนกัน

แนวทางการฟื้นฟูและการทำกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง

  • การออกกำลังกาย โดยเป็นการออกกำลังกายไม่ให้ข้อต่อยึดติด (Range of Motion Exercise) เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถขยับข้อต่อแต่ละส่วนได้ การดัดและขยับข้อต่อ เพื่อให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้เหมือนปกติมากที่สุด รวมถึงการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อ ช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อทำงานอย่างถูกต้อง

การดูแลในส่วนนี้มีความละเอียดอ่อน ผู้ดูแลควรมีความรู้ ความเข้าใจ และความเชี่ยวชาญ ในการจัดกิจกรรมเพื่อให้มีการเคลื่อนไหวรอบข้อและบริหารข้อต่ออยู่เสมอ เพราะส่วนที่ต้องทำการเคลื่อนไหวบริเวณแขน ได้แก่ ข้อไหล่ ข้อศอก ข้อมือ และข้อนิ้วมือ ส่วนที่ต้องทำการเคลื่อนไหวบริเวณขา ได้แก่ ข้อสะโพกและข้อเข่า ข้อเท้า และนิ้วเท้า หากปฏิบัติถูกวิธี ฝึกบ่อยๆ ซ้ำ ๆ จะทำให้ผู้ป่วยมีพัฒนาการ

  • มีการจัดท่านอนให้เหมาะสม (Bed Position) การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อลดอาการเกร็ง และช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่กล้ามเนื้อ
  • มีการฝึกร่างกายในด้านต่าง ๆ ทั้ง ฝึกเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน ฝึกการทรงตัว ฝึกการเดินและฝึกการหายใจ
  • นักกิจกรรมบำบัดและนักกายภาพบำบัดให้คำแนะนำและฝึกกลืน ช่วยตั้งแต่การเตรียมอาหารให้เหมาะกับการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ป่วย เช่น การหั่นอาหารเป็นชิ้นเล็ก ๆ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับท่าทางของศีรษะและลำคอ
  • นอกจากดูแลในเรื่องร่างกายแล้ว สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือการดูแลทางด้านจิตใจ ด้วยผู้ป่วยและครอบครัวของผู้ป่วยมีความกังวล จนอาจส่งผลต่ออารมณ์ ซึ่งการดูแล ให้กำลังใจ จัดกิจกรรมต่าง ๆ ช่วยให้ผู้ป่วยมีพลังใจในการฟื้นฟู

การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองควรได้รับการฝึกอย่างถูกต้อง ต่อเนื่อง และเหมาะสม เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและได้ผลมากที่สุด ควรมีนักกายภาพบำบัดช่วยดูแล กำกับการเคลื่อนไหว กระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวด้วยตนเอง

แต่ละครอบครัวที่มีผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง อาจมีภาระหน้าที่ เช่น การเรียน การทำงาน รวมถึงไม่มีความรู้และประสบการณ์ในการดูแล ควรมอบคนสำคัญของคุณให้ศูนย์ดูแลผู้ป่วยช่วยดูแล ออกแบบการฟื้นฟูให้เหมาะสมเป็นเฉพาะบุคคล เพราะศูนย์ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีบุคลากรที่มีประสบการณ์การดูแล ความเชี่ยวชาญ และเครื่องมือพรั่งพร้อม ในสถานที่ปลอดภัยและสะดวกสบาย ใกล้โรงพยาบาล ช่วยให้คุณหมดกังวลเรื่องการดูแลคนที่คุณห่วงใย

The Senior Ratchayothin : Premium Nursing Home เป็นศูนย์ดูแลผู้ป่วย ศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู พรีเมี่ยมเนอร์สซิ่งโฮม ที่มีประสบการณ์มากกว่า 25 ปี ด้วยทีมงานที่มีทั้งความรู้และความเข้าใจในการประเมิน วางแผน และดูแลให้ผู้ป่วย ผู้สูงอายุ สามารถฟื้นฟูจากอาการเจ็บป่วยจนสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้

ด้านการแพทย์ซึ่งเป็นด้านที่สำคัญที่สุด จะมีแพทย์มาตรวจเยี่ยมผู้ป่วยภายในศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นประจำ แพทย์จะประเมินสุขภาพของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ พร้อมด้วยพยาบาลวิชาชีพและเจ้าหน้าที่ดูแลซึ่งผ่านการอบรมและมีประสบการณ์คอยดูแลตลอด 24 ชั่วโมง

อาหารซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยต้องบริโภคทุกวัน และช่วยในการควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ทางศูนย์ดูแลผู้ป่วยเดอะ ซีเนียร์มีการพัฒนาเมนูอาหารให้เหมาะกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเมนูเหล่านี้ถูกออกแบบโดยนักโภชนาการโดยเฉพาะ คุณสามารถวางใจว่าคนที่คุณรักได้รับอาหารที่ดีต่อร่างกายและเหมาะสมกับโรค

กายภาพบำบัดและฟื้นฟู จัดเป็นด้านที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ทางศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มีนักกายภาพบำบัดวิชาชีพซึ่งมีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดเป็นรายบุคคล โดยใช้อุปกรณ์ทันสมัย และโปรแกรมกายภาพบำบัดที่เหมาะสมกับอาการ

นอกจากกายภาพบำบัดแล้ว การทำกิจกรรมบำบัดช่วยฟื้นฟูร่างกายของผู้รับบริการได้เป็นอย่างดี ศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เดอะซีเนียร์ มีการสนับสนุนและกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกร่างกาย ฝึกการใช้แขน มือ กล้ามเนื้อต่างๆ ฝึกการเรียนรู้ ฝึกสมองและการจำ ผ่านทาง การทำงานฝีมือ ทำงานประดิษฐ์ การเล่นเกมต่างๆ การร้องเพลง ตามศักยภาพของแต่ละคน

เพราะศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้รับบริการเป็นอย่างมาก จึงมีระบบต่างๆ เพื่อให้การดูแลผู้รับบริการปลอดภัยมากที่สุด เช่น ในกรณีฉุกเฉินมีระบบ Oxygen Pipeline รองรับ มีระบบเรียกพยาบาลฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง มีรถพยาบาลช่วยให้ส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว และมีการติดตั้งกล้อง CCTV

การเดินทางมาเยี่ยม หรือมาดูแลสามารถทำได้สะดวก ด้วยทำเลของศูนย์ดูแลผู้ป่วย The Senior Nursing Home อยู่ห่างจาก BTS สถานีรัชโยธินเพียง 500 เมตร ใกล้ MRT สถานีลาดพร้าว และพหลโยธิน ที่ตั้งศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในพื้นที่สงบ ใกล้โรงพยาบาลหลายแห่ง เหมาะแก่การดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วย


สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมของโรงพยาบาลเดอะซีเนียร์ได้ที่
โทร : 090-885-2985, 094-498-1115, 02-001-4452
LINE OFFICIAL : @thesenior