อัลไซเมอร์

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์

7 สัญญาณเตือน เสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์

        อย่างที่ทราบกันดีว่าตอนนี้ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ โดยธรรมชาติของกลไกร่างกายของเมื่ออายุสูงขึ้นการเสื่อมสภาพต่าง ๆ ของร่างกายก็เริ่มเกิดขึ้น โดยเฉพาะสภาวะการเสื่อมสภาพของสมอง หรือที่รู้จักกันในนาม อัลไซเมอร์ คุณรู้ไหมว่า ? อัลไซเมอร์ไม่ใช่แค่หลงลืม คนไทยส่วนใหญ่เมื่อเห็นผุ้สูงอายุมีอาการหลงลืมบ้างบางครั้ง มักจะสันนิษฐานว่าเป็น อัลไซเมอร์

อัลไซเมอร์ คืออะไร

อัลไซเมอร์ เป็นอาการการเสื่อมสภาพของสมอง โดยลักษณะอาการเริ่มต้น คือ การสูญเสียความทรงจำระยะสั้น ๆ ชั่วขณะ ซึ่งเป็นอาการที่ใกล้เคียงกับภาวะความจำเสื่อมตามธรรมชาติในผู้สูงอายุ ซึ่งถ้าเมื่อเวลาผ่านไปสักระยะอาการจะเริ่มเปลี่ยนแปลงมากขึ้น เช่น มีพฤติกรรมทางจิตเวชร่วมด้วยบางครั้ง อารมณ์ฉุนเฉียว เกรี้ยวกราดมากขึ้น และคุณเองในฐานะบุตรหลานต้องอาศัยความเข้าใจในเรื่องพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยอัลไซเมอร์ด้วย

โดยในความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่ผู้สูงอายุทุกคนที่เมื่ออายุมากแล้ว ต้องเผชิญกับโรคอัลไซเมอร์ อัลไซเมอร์เกิดจากความเสื่อมที่เกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เบต้า-อะไมลอยด์ (beta-amyloid) ชนิดไม่ละลายน้ำ เมื่อโปรตีนตัวนี้ไปจับกับเซลล์สมองจะส่งผลกระทบให้เซลล์สมองทำงานได้ช้าลงหรือที่เราเข้าใจกันว่าสมองเสื่อมนั่นเอง และยังส่งผลต่อเนื่องไปถึงการสื่อสารระหว่างเซลล์สมองจนเสียหาย ซึ่งก็เป็นเหตุที่ส่งผลโดยตรงกับความทรงจำ

อาการอัลไซเมอร์ แบ่งได้ 3 ระยะคร่าว ๆ

ระยะเริ่มต้น
ลักษณะอาการ จะเริ่มลืมในส่วนของความจำระยะสั้น ๆ จนสามารถสังเกตตัวเองได้ และถ้าจากการสังเกตในมุมคนอื่น จะเห็นได้ว่าชอบถามซ้ำ พูดซ้ำ ๆ ในเรื่องเดิม ๆ สับสนทิศทาง เริ่มมีอาการหงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย อารมณ์แปรปรวน แต่ยังสื่อสารและทำกิจวัตรประจำวันได้ ระยะนี้เป็นระยะที่ลูกหลานคนรอบข้างสังเกตและสามารถดูแลได้

ระยะกลาง
ลักษณะอาการ อยู่ในขั้นที่เห็นได้ชัดเจนขึ้น ระบบความจำแย่ลง หรือที่เราเห็นในกันในตามรายงานข่าว เดินออกจากบ้านไปโดยไม่มีจุดหมาย อารมณ์พฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด จากคนใจเย็นก็กลายเป็นคนหงุดหงิดฉุนเฉียว ก้าวร้าว พูดจารุนแรง และรุนแรงถึงขั้นเริ่มมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน

ระยะสุดท้าย
ลักษณะอาการ ของผู้ป่วยตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง สุขภาพทรุดโทรมลักษณะคล้ายกับผู้ป่วยติดเตียง พฤติกรรมการรับประทาน การเคลื่อนไหว หรือช่วยเหลือตัวเองค่อนข้างน้อยลง สมองเริ่มเสื่อมสภาพแบบขยายเป็นวงกว้าง และที่แย่ไปกว่านั้น คือ ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จนนำไปสู่การติดเชื้อและเสียชีวิตในที่สุด

7 สัญญาณเตือน เสี่ยงโรคอัลไซเมอร์

  • รู้สึกยากลำบากในการทำงานหรือสิ่งที่คุ้นเคย
  • อารมณ์แปรปรวนและบุคลิกภาพเปลี่ยนไป เช่น เครียด กังวล สับสน
  • มีการหลงลืมที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
  • มีปัญหาในการพูดการเขียน ใช้คำที่ไม่คล่องและการเกิดการเข้าใจผิดระหว่างสื่อสาร
  • หลงลืมของไว้ในที่ที่ไม่ควรวางและไม่สามารถนึกกลับไปได้ว่าวางไว้ที่ไหน
  • ความสามารถในการตัดสินใจลดลง
  • เริ่มมีการแยกตัวไม่ค่อยออกไปพบปะผู้อื่น

 

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์

  1. อายุที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุด โดยพบว่าหลังอายุ 65 ปี ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเพิ่มเป็น 2 เท่าในทุก ๆ
  2. พันธุกรรมก็นับเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงเช่นกัน
  3. การได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ เพราะเป็นต้นเหตุของการที่ทำให้กลไกของสมองเสื่อมสภาพการทำงานลง
  4. ผู้ที่มีพฤติกรรมดังต่อไปนี้ น้ำหนักเกินมาตรฐาน , ร่างกายขาดการออกกำลังกาย , การสูบบุหรี่ หรืออยู่ในกลุ่ม 3 โรคเสี่ยง ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน

การป้องกันความเสี่ยงจากโรคอัลไซเมอร์เบื้องต้น
ข้อมูลต่อไปนี้เป็นเพียงแค่การป้องกันโรคอัลไซเมอร์เท่านั้น ไม่ใช่การรักษาให้อาการหายขาดแต่อย่างใด เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคอัลไซเมอร์

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว
  • รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้เกินมาตรฐาน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ตรวจสุขภาพประจำปี หากมีอาการเจ็บป่วยควรไปพบแพทย์ทันที
  • ฝึกใช้สมองในโหมดการผ่อนคลาย

ที่จริง การฝึกฝนสมอง เช่น คิดเลข อ่านหนังสือ เล่นเกม ฟังเพลง ก็ถือเป็นการป้องกันที่อย่างหนึ่ง การพบปะพูดคุยกับผู้อื่นบ่อย ๆ นอกจากจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นสมองไปอีกแบบ ปัจจุบันก็มีโปรแกรมการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันอาการโรคอัลไซเมอร์ เพราะอย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า ไม่ใช่ผู้สูงอายุทุกคนที่จะต้องเป็นอัลไซเมอร์เมื่อเข้าสู่วัยชรา

หากพูดในเรื่องของการดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเดอะซีเนียร์ ก็มีบริการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จัดกิจกรรมพร้อมอุปกรณ์ที่เหมาะสมเข้าไปช่วยในการบำบัดฟื้นฟู ลดการเสื่อมถอยของความสามารถและศักยภาพในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย

และในทางการแพทย์ได้รองรับแล้วว่าการดูแลผู้ป่วยโดยใช้การบำบัดผู้ป่วยอัลไซเมอร์เป็นวิธีที่ได้ผลและเป็นประโยชน์มาก การบำบัดจะเข้ามามีส่วนช่วยในการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยการบำบัดฟื้นฟูผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะกับอาการของโรคและร่างกายของผู้สูงอายุ อย่างศูนย์ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ของเดอะซีเนียร์ก็มีโปรแกรมมากมาย เพื่อบำบัดโดยไม่ให้ผู้ป่วยกดดันว่านี่คือการรักษา เช่น

  • ฝึกการเคลื่อนไหวในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
  • การจัดการพฤติกรรมและอารมณ์ จัดการกับความเครียดและความวิตกกังวลของผู้ป่วย
  • การทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม เสริมประสิทธิภาพการบำบัดผ่านกลุ่มสัมพันธ์
  • วางแผนด้านอาหารโดยนักโภชนาการ พัฒนาเมนูอาหารให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุแต่ละท่าน

เดอะซีเนียร์ ออกแบบที่พักเพื่อให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วย จัดแสงไฟให้เหมาะสมกับการพักผ่อน ห้องทำกิจกรรมปลอดโปร่ง กายภาพบำบัดออกแบบมาเพื่อผู้ป่วยโดยเฉพาะ มีสวนหย่อมสำหรับให้ผู้ป่วยเดินเล่น บรรยากาศเงียบสงบห่างไกลความวุ่นวาย อยู่ใกล้โรงพยาบาลชั้นนำ ญาติผู้ป่วยสามารถเดินทางสะดวกเข้าออกได้หลายเส้นทาง

ทำไมคุณถึงต้องเลือกเรา

เพราะ เดอะซีเนียร์ เข้าใจผู้มีภาวะของโรคอัลไซเมอร์ เป็นอย่างดี

  • เดอะซีเนียร์เรามีเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลที่เข้าใจผู้ป่วยภาวะด้านอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม
  • เดอะซีเนียร์มีผู้ดูแลและทีมงานผู้ชำนาญและมีประสบการณ์ ในการดูแลผู้ป่วยภาวะด้านอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม
  • ผู้ดูแลและทีมงานมีความเข้าใจในการดูแลกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่เหมาะสม
  • ดูแลผู้สูงอายุทุกท่านด้วยความรักและใส่ใจในทุกรายละเอียดของท่านผู้สูงอายุตลอดเวลา
  • การดูแล วางแผนและประเมินให้เหมาะสมกับทางผู้สูงอายุแต่ละท่าน เป็นโปรแกรมการดูแลเฉพาะบุคคล

ด้วยประสบการณ์การดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยของ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ของเดอะซีเนียร์ ที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่า 25 ปี ทำให้เราเข้าใจดีในเรื่องการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ หรือผู้ป่วยจากการผ่าตัด ศูนย์ดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ศูนย์ดูแลผู้ป่วยพาร์กินสันให้มีการฟื้นตัวเร็ว ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานและการพัฒนาที่ต่อเนื่อง จึงทำให้เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการดูแลผู้สูงอายุ ด้านการดูแล ด้านกิจกรรมบำบัด และฟื้นฟูหลังออกจากโรงพยาบาล หากคุณต้องการผู้ดูแลที่เชี่ยวชาญด้านสุขภาพไว้ดูแลคนที่คุณรักอย่างใกล้ชิด เดอะซีเนียร์ของเราถือเป็นตัวเลือกที่ดีอย่างหนึ่ง และถ้าคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อขอรายละเอียดได้ที่ลิงก์ด้านล่าง


สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมของโรงพยาบาลเดอะซีเนียร์ได้ที่
โทร : 090-885-2985, 094-498-1115, 02-001-4452
LINE OFFICIAL : @thesenior

Leave a Reply

Your email address will not be published.