รู้ทันโรคพาร์กินสัน อาการสั่นที่ห้ามมองข้าม การดูแลที่ต้องใส่ใจจาก เนอร์สซิ่งโฮม
เนอร์สซิ่งโฮมช่วยดูแลและรักษาโรคพาร์กินสันได้อย่างถูกต้องและใส่ใจ
โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่มักพบกับผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป เป็นโรคที่มีอัตราการรักษาที่โรงพยาบาลผู้สูงอายุหรือเนอร์สซิ่งโฮมเป็นอันดับต้น ๆ โรคพาร์กินสันมีอัตราการเกิด 1 ต่อ 100 ในประชากรและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังพบอีกว่าจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันมีอายุก่อน 40 ปีมีจำนวนที่เพิ่มขึ้น โรคพาร์กินสันจึงไม่ใช่โรคที่มีความเสี่ยงสำหรับผู้สูงอายุเพียงกลุ่มเดียวอีกต่อไป
โรคพาร์กินสัน โรคอันตรายสำหรับผู้สูงวัย
โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) เป็นโรคที่เกิดจากสมองบริเวณส่วนกลางและระบบประสาทเกิดความเสื่อมทำให้สารโดปามีนทำงานลดลงซึ่งสารโดปามีนมีผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยโรคพาร์กินชันมักเกิดกับผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปและมักเกิดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ซึ่งอาการของโรคจะมีด้วยกัน 5 ระดับ เริ่มตั้งแต่อาการสั่นเกร็งในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เคลื่อนไหวช้า หลังงอ ลุกยืนลำบาก หกล้มได้ง่าย ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย กล้ามเนื้อแข็งเกร็งจนไม่สามารถยืนได้ จนอาจทำให้กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง มือเท้าหงิกงอ ทรวงอกเคลื่อนไหวได้น้อยมีความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินหายใจซึ่งภาวะดังกล่าวเป็นระยะอาการของโรคขั้นสุดท้าย ซึ่งโรคพาร์กินสันจะมีอาการร่วม เช่น อาการละเมอตอนนอน ท้องผูก และอาการของโรคซึมเศร้า ด้วยอาการของโรคที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงต้องได้รับการดูแลและรักษาอย่างต่อเนื่องและถูกต้อง จึงมีหลายครอบครัวของผู้ป่วยมักจะส่งผู้ป่วยไปรักษาจะโรคพาร์กินสันที่เนอร์สซิ่งโฮมหรือโรงพยาบาลที่รับดูแลผู้สูงอายุเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเพราะหากปล่อยให้โรคลุกลามจะส่งผลทั้งสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจได้ ซึ่งการรักษาทำได้เพียงบรรเทาอาการเท่านั้นเพราะโรคพาร์กินสันไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะสามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคได้เป็นอย่างมาก
วิธีการรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน
- รักษาด้วยการรับประทานยาเพื่อเพิ่มปริมาณโดปามีนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายโดยแพทย์จะพิจารณาการให้ยาตามอาการผู้ป่วย
- การผ่าตัด เมื่อรักษาด้วยยาเป็นเวลานานอาจเกิดอาการดื้อยาการรักษาด้วยยาจึงไม่มีผลต่อการรักษา ดังนั้นการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมองส่วนลึก (Deep Brain Stimulation) จึงเป็นการรักษาในผู้ป่วยที่มีการอาการดื้อยา การผ่าตัดเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมองส่วนลึกเป็นการรักษาที่ช่วยให้การเคลื่อนไหวเป็นปกติมากยิ่งขึ้น
- การทำกายภาพบำบัด การทำกายภาพอย่างต่อเนื่องจะช่วยฟื้นฟูและเสริมสร้างความแข็งแรง ช่วยป้องกันการเกิดข้อยึดติดและช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกายส่งผลต่อการเดิน การฝึกพูด การกลืน การวิ่งได้
การดูแลและรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน
ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสันผู้ดูแลต้องมีความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงในการช่วยเหลือผู้ป่วย มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและทักษะในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นอย่างดี เพื่อส่งเสริมให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นและเพื่อป้องกันอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนของโรค อีกทั้งโรคพาร์กินสันเป็นโรคเรื้อรังหากเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายได้ทำได้เพียงบรรเทาอาการของโรคเท่านั้น ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยจึงต้องเต็มใจในการดูแลเนื่องจากต้องดูแลผู้ป่วยเป็นระยะเวลานานซึ่งอาจทำให้เกิดความเครียดสะสมได้ เพราะผู้ป่วยโรคพาร์กินสันไม่สามารถดูแลตัวเองได้แม้กระทั่งการใช้ชีวิตประจำวัน นอกจากนั้นอาการของโรคและยาที่ใช้ในการรักษาอาจมีผลกระทบต่อจิตใจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และความเครียดซึ่งผู้ดูแลต้องมีความเข้าใจต่ออาการของโรค นอกจากนั้นผู้ที่ดูแลผู้ป่วยจะต้องพาผู้ป่วยไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอและยังต้องทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อให้แข็งแรงพอที่ผู้ป่วยจะสามารถดูแลตัวเองได้ ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยถึงถือว่าเป็นงานหนักและยังเป็นงานที่ต้องมีความรู้และควรต้องผ่านการฝึกอบรม ฝึกทักษะ เพื่อให้ดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง ด้วยเหตุผลดังกล่าวครอบครัวของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่ไม่ได้มีความรู้ ไม่มีทักษะหรือเวลาในการดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน จึงมักส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลที่รับดูแลผู้สูงอายุหรือเนอร์สซิ่งโฮม หรือจ้างพยาบาลหรือนักกายภาพบำบัดจากเนอร์สซิ่งโฮมมาดูแลที่บ้านเพื่อดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง
เนอร์สซิ่งโฮม ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่ช่วยให้คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโรคพาร์กินสันดีขึ้น
เนอร์สซิ่งโฮมหรือศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเป็นสถานที่ที่ช่วยดูแลและบำบัดผู้สูงอายุที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ ซึ่งรวมไปถึงผู้สูงอายุที่เป็นโรคพาร์กินสัน เนื่องจากเนอร์สซิ่งโฮมจะมีเจ้าหน้าที่และพยาบาลที่มีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสันโดยเฉพาะ เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันได้ ช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุหรือหกล้มและภาวะแทรกซ้อนของโรค โดยการดูแล บำบัด ฟื้นฟู ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะกับอาการของโรคและร่างกายของผู้สูงอายุ โดยหลักการในการดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมีดังนี้
- การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะจากการเดิน กาพลัดตก การหกล้ม เนื่องจากร่างกายของผู้ป่วยเสียสมดุลในการทรงตัวและท่าทางการเดิน ทำให้ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมีท่าทางการเดินที่โน้มตัวไปข้างหน้าช่วงก้าวจะสั้นและเร็วจึงทำให้หกล้มได้ง่าย โดยเนอร์สซิ่งโฮมจะช่วยดูแลตั้งแต่การเลือกรองเท้าให้กับผู้ป่วยโดยพื้นรองเท้าต้องเป็นยาง สภาพแวดล้อมของเนอร์สซิ่งโฮมจะไม่มีสิ่งกีดขวางทางเดิน พื้นแห้ง ทางขึ้นเดินขึ้น-ลงบันไดมีราวเพื่อให้ยึดเกาะได้ มีแสงสว่างที่เพียงพอ แต่หากผู้ป่วยต้องดูแลรักษาที่บ้านสามารถปฏิบัติตามข้อปฏิบัติข้างต้นได้
- การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ของเนอร์สซิ่งโฮมที่คอยดูแลผู้ป่วยต้องคอยกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกายหรือช่วยออกกำลังกายให้แก่ผู้ป่วย โดยการบริหารร่างกายในท่าเบา ๆ เช่น การยืดเหยียดกล้ามเนื้อแขนและขา, การนั่งแกว่งแขนและขา, การหมุนข้อมือและข้อเท้า และการเดิน ซึ่งเป็นท่าที่เหมาะกับการฝึกกับผู้ป่วยทุกระยะของโรคเพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อให้ทำงานประสานกัน
- การดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ของเนอร์สซิ่งโฮมต้องคอยดูแลการรับประทานยาของลูกป่วยอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาการของโรคพาร์กินสันในระยะรุนแรงจะทำให้ความจำเสื่อมถอยลงส่งผลให้หลงลืมได้ง่ายจึงมักหลงลืมในการรับประทานยา ซึ่งหากลืมกินยาอย่างต่อเนื่องอาจมีผลต่ออาการของโรคเป็นอย่างมาก
- การดูแลเรื่องอาหาร ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันต้องเป็นอาหารที่เคี้ยวง่าย มีกากใยอย่างผักและผลไม้ ซึ่งเนอร์สซิ่งโฮมจะคัดเลือกอาหารและดูแลอาหารให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสันอย่างเคร่งครัด เนื่องจากโรคพาร์กินสันจะมีภาวะกลืนลำบากในระยะสุดท้ายของโรค เจ้าหน้าที่เนอร์สซิ่งโฮมต้องคอยตักอาหารให้ผู้ป่วยในขนาดพอดีคำ และจะให้เวลากับผู้ป่วยในการเคี้ยวอาหารให้ผู้ป่วยกลืนอาหารให้หมดก่อนแล้วค่อยป้อนคำต่อไปได้ นอกจากนั้นผู้ป่วยจะมีอาการท้องผูกเนื่องจากลำไส้มีการบีบตัวลดลงการกินอาหารที่มีกากใยจะช่วยลดการเกิดท้องผูกได้เป็นอย่างดี
- การสื่อสารกับผู้ป่วย หนึ่งในอาการของโรคพาร์กินสันจะทำให้ผู้ป่วยจะมีอาการพูดไม่ชัด บางรายที่เป็นผู้สูงอายุจะมีอาการหูตึงร่วมด้วยทำให้เป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและเจ้าหน้าเนอร์สซิ่งโฮมเป็นอย่างมาก เจ้าหน้าที่เนอร์สซิ่งโฮมที่ได้รับการฝึกอบรม ฝึกทักษะ และมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยจึงมีความเข้าใจต่ออาการของโรคและมีวิธีจัดการอย่างถูกต้องและเหมาะสมจึงลดปัญหาในการสื่อสารได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยและเจ้าหน้าเนอร์สซิ่งโฮมไม่มีความเครียดซึ่งเป็นผลดีต่อการรักษา
- อุปกรณ์ในการช่วยเดิน เช่น walker เป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยพยุงให้ผู้ป่วยสามารถเดินได้เอง ซึ่งเจ้าหน้าเนอร์สซิ่งโฮมมีหน้าที่ในการแนะนำวิธีการใช้งานและคอยกระตุ้นให้ผู้ป่วยเดินเพื่อให้ฟื้นฟูสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เนื่องจากหากผู้ป่วยสามารถเดินได้เองจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองและสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขมากขึ้น
การดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสันต้องมีความพร้อมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สถานที่ ความรู้ ความเข้าใจ และเต็มใจในการดูแลผู้ป่วย ดังนั้นครอบครัวของผู้ป่วยพาร์กินสันโดยส่วนใหญ่จึงมักส่งผู้ป่วยพาร์กินสันมารักษาตัวที่เนอร์สซิ่งโฮมที่เป็นศูนย์ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีอาการเจ็บป่วย เพราะมีความพร้อมทุก ๆ ด้านในการดูแลผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยฟื้นฟูทั้งร่างกายและจิตใจได้เป็นอย่างดีซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ป่วยโรคพาร์กินสันเป็นอย่างมาก
The Senior Health Care เป็นศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ , ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง และศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ที่มีประสบการณ์มากกว่า 25 ปี เป็นศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาของหลอดเลือดสมอง, กลุ่มผู้สูงอายุความจำเสื่อมอัลไซเมอร์และพาร์กินสัน, กลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องการพักฟื้นหลังผ่าตัด และผู้ป่วยติดเตียง ด้วยทีมงานและบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในการที่จะประเมินและวางแผนการดูแลเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ติดต่อขอรายละเอียดเนอร์สซิ่งโฮม ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ได้ที่ลิงก์ด้านล่าง
โทร : 090-885-2985, 094-498-1115, 02-001-4452
LINE OFFICIAL : @thesenior