ดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน

เนอสซิ่งโฮมสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสัน

เนอสซิ่งโฮมสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสัน

ข้อสังเกตอาการของผู้ป่วยพาร์กินสัน

การเดินช้า หยิบของช้า หน้าตาไม่แสดงสีหน้าหรืออารมณ์ใดๆ มีปัญหาในการเดิน ลูกหลานหลายคนคิดว่า พฤติกรรมเหล่านี้ คุณปู่คุณย่าต้องการเรียกร้องความสนใจจากลูกหรือหลานอยู่หรือมไม่ จริงๆ แล้ว อาการเหล่านี้เป็นอาการเริ่มต้นของผู้ป่วยพาร์กินสันต่างหาก เรามาทำความรู้จักโรคพาร์กินสัน เพื่อทำความเข้าใจผู้ป่วยพาร์กินสันให้มากขึ้นและเรียนรู้ที่จะอยู่กับผู้ป่วยอย่างถูกวิธี

โรคพาร์กินสัน

พาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) เป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาทที่สามารถพบได้ในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ประกอบกับสังคมไทยที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ทำให้ตัวเลขของผู้ป่วยพาร์กินสันเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปีตามจำนวนประชากรผู้สูงวัยที่เพิ่มขึ้น สถิติล่าสุดได้รายงานเอาไว้ว่า 3% หรือราว 360,000 คนของประชากรสูงวัยในประเทศไทย มีอาการของโรคพาร์กินสัน จากประชากรสูงวัยทั้งหมด 12 ล้านคน
(อ้างอิง https://www.chula.ac.th/highlight/62989/ )

อาการของโรคพาร์กินสัน

อาการหลักๆ ของโรคพาร์กินสันจะเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติหรือ Motor Symptoms ซึ่งประกอบไปด้วยอาการดังต่อไปนี้

  • อาการเคลื่อนไหวช้า
  • อาการสั่นแม้ว่าจะอยู่เฉยๆ
  • อาการแข็งเกร็ง
  • การทรงตัวที่ยากลำบาก ซึ่งอาการดังกล่าวข้างต้นเหล่านี้นำไปสู่การหกล้ม หรือที่เรียกว่า “อาการพาร์กินโซนิซึ่ม” และยังมีอาการอื่นๆ ที่นอกเหนือจากการเคลื่อนไหว หรืออาการเตือนก่อนที่จะเป็นพาร์กินสัน เรียกว่า Prodromal Symtoms ซึ่งได้แก่อาการเหล่านี้
  • อาการนอนละเมอตอนกลางคืน
  • ไม่สามารถดมกลิ่นหรือรับรสอาหารได้
  • ท้องผูกเรื้อรัง
  • มีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย

อาการนอนละเมออาจจะไม่แสดงออกทุกรายเสมอไป เนื่องจาก การนอนละเมอไม่ได้เป็นอาการที่เฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสันเท่านั้น คนปกติธรรมดาก็สามารถนอนละเมอได้เช่นกัน แต่ถึงกระนั้น หากผู้สูงอายุในครอบครัว มีอาการดังกล่าวรวมกับอาการนอนละเมอ รวมกับประวัติในครอบครัวจากกรรมพันธุ์ที่เคยเป็นโรคพาร์กินสัน มีโอกาสสูงที่พันธุ์กรรมนั้นจะถ่ายทอดมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน

อาการเริ่มต้นหรือสัญญาณเตือนเหล่านี้ ทางการแพทย์เรียกว่าเป็นอาการที่บ่งบอกถึงภาวะเสื่อมทางระบบประสาทบริเวณก้านสมองส่วนล่าง ที่มีหน้าที่ควบคุมการนอนหลับ และระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมการขับถ่าย ได้มีหลักฐานจากงานวิจัยบอกเอาไว้ว่า ผู้ป่วยอาจมีอาการเริ่มต้นเหล่านี้ 6-20 ปี ก่อนที่จะเป็นโรคพาร์กินสัน

สาเหตุของการเกิดโรคพาร์กินสัน

จริงๆ แล้ว ยังไม่มีงานวิจัยใดๆ ออกมายืนยันถึงสาเหตุที่แท้จริงของโรคพาร์กินสัน แต่แพทย์และนักวิจัยต่างสันนิษฐานกันว่า เกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ได้แก่

ปัจจัยทางพันธุกรรม – ประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคพาร์กินสัน

ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม – เช่น การได้รับสารพิษหรือสารเคมีที่เป็นโลหะหนัก แมงกานีส ทองแดง โดยการสัมผัส รับประทาน สูดดม อาศัยอยู่ในเขตอุตสาหกรรม หรือการได้รับบาดเจ็บทางสมอง

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสัน

ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 55 ปี ขึ้นไป สมาชิกในครอบครัวมีอาการป่วยพาร์กินสัน เช่น พ่อ แม่ โดยการวินิจฉัยโรคพาร์กินสัน สามารถทำได้ 2 วิธี คือ การซักประวัติ และการเอ็กซเรย์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ Brain MRI ซึ่งโรคพาร์กินสันมีทั้งหมด 5 ระยะ สามารถแบ่งออกได้เป็นดังนี้

ระยะที่ 1 – เป็นระยะเริ่มต้น โดยจะมีอาการสั่นเมื่อมีการหยุดพัก หรือไม่มีการเคลื่อนไหวอวัยวะ เช่น นิ้วมือ แขน และจะมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแขน ขา และลำตัวร่วมด้วย

ระยะที่ 2 – อาการจะเริ่มลุกลามไปยังอวัยวะอีกข้างหนึ่ง ผู้ป่วยจะเริ่มหลังงอ เคลื่อนไหวตัวได้ช้า หรือเดินตัวโก่งไปข้างหน้า

ระยะที่ 3 – มีอาการทรงตัวผิดปกติ หกล้มได้ง่ายและลุกยืนลำบาก

ระยะที่ 4 – ผู้ป่วยจะช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง จะมีอาการสั่นลดลง แต่จะมีอาการเเข็งเกร็งและเคลื่อนไหวช้ามากกว่าเดิม ในระยะนี้แนะนำว่าควรดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นระยะที่ผู้ป่วยหกล้มได้ง่ายและจะไม่สามารถลุกขึ้นยืนได้เอง

ระยะที่ 5 – ระยะนี้กล้ามเนื้อของผู้ป่วยจะแข็งเกร็งมากขึ้น จนทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง มือเท้า หงิก งอ เสียงแผ่วเบา ไม่มีการแสดงความรู้สึกทางสีหน้า ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ทำให้ร่างกายซูบผอม ทรวงอกเคลื่อนไหวได้น้อยลง และมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

ผลกระทบจากพาร์กินสันต่อชีวิตประจำวัน

  • ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง เนื่องจากการเคลื่อนไหวที่ลำบาก ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดีเหมือนเดิม
  • เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เช่น หกล้ม
  • ส่งผลกระทบต่อจิตใจ เนื่องจากไม่สามารถเข้าสังคมหรือใช้ชีวิตประจำวันได้เอง
  • ส่งผลกระทบต่อสังคม เข้าสังคมลำบากเนื่องจากมีปัญหาเรื่องการพูดและสื่อสาร อาการมือสั่นต่างๆ ทำให้เสียบุคลิก
  • ส่งผลกระทบต่อครอบครัว เพราะต้องสละเวลามาดูแลอย่างใกล้ชิด
  • ส่งผลกระทบต่อระบบการเงินของครอบครัว เนื่องจากไม่สามารถทำงานได้ และต้องมีค่าใช้จ่ายในการรักษาและต้องจ้างพยาบาลพิเศษมาเพื่อดูแล

ปัญหาที่มักจะตามมาเมื่อสมาชิกในครอบครัวกลายเป็นผู้ป่วยพาร์กินสัน และมีแนวโน้มว่าจะเป็นผู้ป่วยติดเตียง ทำให้ต้องเสียสละเวลาส่วนตัว มาดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ศูนย์ดูแลผู้ป่วย เนอสซิ่งโฮมจึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยดูแลผู้ป่วยพาร์กินสันและผู้สูงอายุ อย่างเช่นที่ The Senior Healthe Care ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง และศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู พรีเมี่ยมเนอสซิ่งโฮม

ทำไมต้องให้ศูนย์ดูแลผู้ป่วย The Senior Health Care ดูแล

เพราะเรามีความเข้าใจในความต้องการที่หลากหลายของผู้สูงอายุแต่ละกลุ่ม ซึ่งที่ The Senior เนอสซิ่งโฮมได้มีการพัฒนาทีมงานและบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการประเมินและวางแผนการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุฟื้นตัวได้จากสภาวะอาการเจ็บป่วยต่างๆ โดยที่ The Senior Health Care มีการดูแลดังต่อไปนี้

  1. ด้านการแพทย์ – มีแพทย์ตรวจะเยี่ยมเป็นประจำ พร้อมวางแผนประเมินสุขภาพ
  2. ด้านกิจกรรมบำบัด – เพื่อให้ผู้ป่วยได้ขยับร่างกาย ไม่ทำให้เป็นผู้ป่วยติดเตียง ฝึกการสื่อสาร
  3. ด้านสุขภาพ – พัฒนาเมนูอาหารให้ครบและถูกหลักโภชนาการ
  4. ด้านกายภาพบำบัดและฟื้นฟู – เน้นการทำกายภาพบำบัด โดยทีมนักกายภาพบำบัดวิชาชีพ


สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมของโรงพยาบาลเดอะซีเนียร์ได้ที่
โทร : 090-885-2985, 094-498-1115, 02-001-4452
LINE OFFICIAL : @thesenior