ปัญหาที่พบของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และมีวิธีการดูแลอย่างใกล้ชิดอย่างไร?
วิธีการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ทุกอวัยวะไม่ว่าจะเป็นอวัยวะภายนอกหรืออวัยวะภายในร่างกายล้วนมีระบบการทำงานที่เชื่อมต่อกัน กล่าวคือการที่มนุษย์จะดำรงชีวิตอย่างปกติสุขได้การมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงถือเป็นประการสำคัญมากที่สุดประการหนึ่งอย่างคำกล่าวที่ว่า ‘การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ’ โดยเฉพาะอวัยวะที่เรียกว่าสมอง ที่นับได้ว่าเป็นศูนย์รวมของการควบคุมร่างกายของเราทั้งหมด ถ้าเกิดเหตุการณ์ขาแพลงหรือแขนหักเรายังสามารถรักษาและใช้ชีวิตอย่างปกติได้ แต่ถ้าหากสมองเราเกิดการกระทบรุนแรงจนเกิดความเสียหายอย่างนักก็ยากที่จะดำรงชีวิตอย่างปกติต่อไปได้หรือบางกรณีอาจอันตรายถึงแก่ชีวิต ซึ่งผู้ป่วยเกี่ยวกับสมองที่มักพบในปัจจุบันนั้นก็มีมากมาย อาทิเช่น ผู้ป่วยโรคปวดศีรษะและไมเกรน ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ผู้ป่วยโรคเส้นประสาท หรือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นการกิน การนอน การออกกำลังกาย โดยบทความนี้เราจะขอเจาะลึกถึงผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพราะนับได้ว่าเป็นโรคสมองที่พบบ่อย ที่สำคัญอาจมีความรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ และจะมีวิธีการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างไร ไปอ่านพร้อมๆ กันเลย
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke คือ?
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke คือภาวะที่สมองขาดเลือด สาเหตุหลักๆ มาจากการที่เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ ส่งผลให้สมองไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยจะมีอาการที่สังเกตได้อย่างง่ายๆ อาทิเช่น ตาพร่ามัว อาการแขนขาชา หรือการพูดออกเสียงได้อย่างลำบาก เป็นต้น โดยสามารถแบ่งผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นสองประเภทด้วยกัน อันได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด (Ischemic Stroke) และโรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมอง (Hemorrhagic Stroke) ซึ่งถ้าหากผู้ป่วยได้รับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างทันท่วงทีก็จะไม่ส่งผลเสียหายต่อสมองมากนัก
วิธีสังเกตอาการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
สำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหรือผู้ที่รู้ตัวว่าอาจเข้าข่ายการเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เรามีวิธีการสังเกตอาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ดังต่อไปนี้
- อาการของกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง ซึ่งไม่เพียงแต่แขนหรือขาที่อ่อนแรงเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอาการที่หลับตาไม่สนิท ,อาการปากเบี้ยว ,อาการน้ำลายไหลอย่างไม่ได้ตั้งใจ หรืออาการไม่สามารถยิ้มอย่างปกติได้
- อาการแขนหรือขาไม่สามารถเคลื่อนไหว หรือไม่สามารถยกค้างในระยะเวลานานได้
- อาการที่นึกคำพูดออกได้ยากกว่าปกติ และไม่สามารถพูดจาให้กระฉับกระเฉงได้ จะพูดจาติดๆ ขัดๆ จนสามารถสังเกตถึงความผิดปกติได้อย่างชัดเจน
- อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง
- อาการเสียการทรงตัวอย่างฉับพลัน
- อาการมองภาพได้ไม่ชัด ตาพร่ามัว หรือเห็นภาพซ้อน เป็นต้น
หากเราสังเกตเห็นอาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเหล่านี้ แนะนำให้รีบพาส่งโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาได้อย่างถูกวิธีและทันท่วงที สามารถขอคำแนะนำกับผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับวิธีสังเกตอาการหรือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มเติมได้ที่นี่
ปัญหาหรือปัจจัยเสี่ยงที่พบของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ปัญหาหรือปัจจัยเสี่ยงหลักนั้นมักจะมีสาเหตุมาจากการใช้ชีวิตประจำวันอย่างประมาท กล่าวคือไม่รักษาสุขภาพโดยการทานอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์หรือการไม่หมั่นออกกำลังกาย เป็นต้น เหนือสิ่งอื่นใดสาเหตุของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนอกจากการไม่ดูแลสุขภาพแล้วยังมีปัจจัยเสี่ยงที่บางครั้งเราก็ไม่อาจควบคุมได้ อาทิเช่น การเพิ่มขึ้นของอายุและการเสื่อมของร่างกาย แต่ถ้าจะสังเกตให้ดีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองส่วนใหญ่แล้วมักจะมีปัญหาหรือปัจจัยเสี่ยงที่เกิดการการประพฤติปฏิบัติในขณะที่ร่างกายยังแข็งแรงอยู่ อาทิเช่น การดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ โรคประจำตัวต่างๆ ซึ่งการใช้ชีวิตเหล่านี้ก็นำมาซึ่งความเสี่ยงต่อการเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีโรคประจำตัวก็จะยิ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สามารถทวีความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองได้หนักกว่าเดิมได้ ซึ่งโรคประจำตัวที่นับว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะมีโรคอะไรบ้างและมีความเสี่ยงต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ไปทราบพร้อมๆ กันเลย
- โรคหัวใจ : การที่หัวใจของเรามีการเต้นที่ผิดปกติส่งผลให้กล้ามเนื้อของหัวใจขาดเลือดได้ง่าย ก่อให้เกิดลิ่มเลือดเข้าไปอุดตันภายในเส้นเลือดสมอง นำมาซึ่งหลอดเลือดในสมองตีบ ตัน หรือแตกได้
- โรคเบาหวาน : สำหรับโรคเบาหวานจะเน้นไปที่ภาวะหลอดเลือดเกิดอาการตีบแข็งส่งผลให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้อย่างสะดวกก่อให้เกิดการอุดตันของเลือดสามารถนำมาซึ่งหลอดเลือดในสมองตีบ ตัน หรือแตกได้
- โรคความดันโลหิตสูง : นับได้ว่าโรคนี้เป็นโรคฮอตฮิตที่หลายคนอาจเผชิญอยู่ซึ่งถือได้ว่าเป็นโรคที่อาจจะต้องทานยาตลอดชีวิตก็เป็นได้ ซึ่งโรคนี้จะส่งผลให้หลอดเลือดแข็งตัวเร็วกว่าปกติ ทำให้สมองทำงานผิดปกติตามมา นำมาซึ่งหลอดเลือดในสมองตีบ ตัน หรือแตกได้ในที่สุด
วิธีการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างใกล้ชิด
- ดูแลเรื่องการทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นอาหารจำพวกโอเมก้าสามเพราะมีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบได้
- เพิ่มโอเมก้าสามแต่ควรลดอาหารประเภทไขมันสูง อาทิ เช่น ไขมันอิ่มตัวหรือไขมันทรานส์ เป็นต้น
- ลดโซเดียมและอาหารที่มีรสเค็มจัด
- เลิกดื่มแอลกอฮอร์และเลิกสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด
- หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- หากมีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูงควรหมั่นวัดความดันเป็นประจำเพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจอันตรายถึงแก่ชีวีตได้
สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำเป็นอย่างมากที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและถูกวิธี โดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เป็นผู้สูงอายุ ยิ่งต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อยู่ตลอดเวลา เพราะถ้าหากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเกิดอาการผิดปกติก็ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีไม่เช่นนั้นอาจส่งผลอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นถ้าคุณหรือคนที่คุณรักกำลังประสบกับปัญหาโรคนี้อยู่เราขอแนะนำให้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่าง เดอะซีเนียร์ ด้วยประสบการณ์การดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยของ ดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ของเดอะซีเนียร์ ที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่า 25 ปี ทำให้เราเข้าใจดีในเรื่องการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ หรือผู้ป่วยจากการผ่าตัด ให้มีการฟื้นตัวเร็ว ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานและการพัฒนาที่ต่อเนื่อง จึงทำให้เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการดูแลผู้สูงอายุ ด้านการดูแล ด้านกิจกรรมบำบัด และฟื้นฟูหลังออกจากโรงพยาบาล
หากคุณต้องการผู้ดูแลที่เชี่ยวชาญด้านสุขภาพไว้ดูแลคนที่คุณรักอย่างใกล้ชิด เดอะซีเนียร์ของเราถือเป็นตัวเลือกที่ดีอย่างหนึ่ง และถ้าคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถ
สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมของโรงพยาบาลเดอะซีเนียร์ได้ที่
โทร : 090-885-2985, 094-498-1115, 02-001-4452
LINE OFFICIAL : @thesenior
Leave a Reply