ความสำคัญ และวิธีการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมและดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
หากพูดถึงเรื่องการผ่าตัด เป็นเรื่องที่มีรายละเอียดเล็กน้อยต่าง ๆ ที่ตามมาทั้งเรื่องการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด อุปกรณ์ทำความสะอาด ทุก ๆ อย่าง รวมถึงสภาพจิตใจ คือ เรื่องสำคัญที่ญาติและตัวผู้ป่วยเองกังวลไม่ใช่น้อย ดังนั้นจึงมีขั้นตอนที่เรียกว่า การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด ซึ่งความสำคัญของการเตรียมตัว ก็คือ
1. สร้างสัมพันธ์ ความไว้วางใจระหว่างแพทย์ กับผู้ป่วย และญาติ
2. ประเมินสภาพร่างกายและสภาพจิตใจของผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
3. ประเมินความเสี่ยงของการผ่าตัด เรื่องการกิน และยาที่มีการใช้อยู่
4. เตรียมผู้ป่วยให้พร้อมทั้งทางด้านร่างกายและสภาพจิตใจก่อนผ่าตัด
5. การเซ็นต์ใบอนุญาต และให้ข้อมูลการเตรียมตัวที่ถูกต้องตามคำสั่งของแพทย์ ให้การผ่าตัดราบรื่น
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด
1. เข้าปรึกษาแพทย์ เพื่อแจ้งประวัติยาที่ใช้เป็นประจำ และประวัติการแพ้ยา เพราะว่ายาบางชนิดอาจะส่งผลข้างเคียงระหว่างการผ่าตัดได้ เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด
2. เรื่องของการตั้งครรภ์ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษหากสงสัยว่าตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้แพทย์ก่อนจะวางแผนการผ่าตัด เพื่อความปลอดภัยสูงสุด
3. งดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิดอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการผ่าตัด เพื่อป้องกันปัญหาการสำลักเศษอาหารเข้าหลอดลมและปอด ระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึก
4. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สิ่งมึนเมาทุกชนิดก่อนข้ารับการผ่าตัดอย่างน้อย 1 วัน
5. งดสูบบุหรี่ก่อนวันทำการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์
6. ศึกษาเรื่องผลกระทบต่อร่างกายหลังการเข้ารับการผ่าตัด โดยปรึกษาสอบถามจากทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ เพื่อไม่ให้ข้อมูลผิดพลาด
7.เตรียมสภาพร่างกายและจิตใจให้พร้อมก่อนเข้ารับการผ่าตัด
8.พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อไม่ให้ร่างกายไม่อ่อนล้าและจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น แต่ควรพักผ่อนแบบพอประมาณ ถ้าหากเยอะเกินไปร่างกายก็จะเกิดอาการเพลียได้เช่นกัน
9.ควรทำความสะอาดร่างกาย เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ ให้เรียบร้อยก่อนมาโรงพยาบาล และควรมาถึงก่อนเวลานัด 1 ชั่วโมง
ซึ่งการให้ข้อมูลความรู้กับผู้ป่วยก่อนรับการผ่าตัดจะมีประโยชน์มาก ช่วยในด้านสภาวะจิตใจของผู้เข้ารับการผ่าตัดได้ดี เช่น เข้าใจถึงสถานการณ์ วิธีการและกระบวนการรักษาทั้งก่อนและหลังการผ่าตัดดียิ่งขึ้น ลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อน ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้น ทำให้ช่วยลดระยะเวลาในการพักฟื้นในโรงพยาบาลผู้ป่วยจะได้สบายใจยิ่งขึ้นเมื่อได้กลับไปรักษาที่บ้าน
และเมื่อหลังการผ่าตัดผ่านไปเรียบร้อยแล้ว การดูแลตัวเองหรือดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดก็เป็นเรื่องสำคัญต้องอาศัยความรู้และเชี่ยวชาญมากในการดูแล เพื่อป้องกันให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด
อาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัดทุเลาลง ทำให้ผู้ป่วยลดการโฟกัสที่อาการเจ็บ สบายใจมากขึ้น เมื่อภาวะจิตใจของผู้ป่วยดีขึ้น ร่างกายก็ทำการพักฟื้นกับเข้าสู่ปกติได้อย่างรวดเร็วแถมยังช่วยลดความกังวลของครอบครัว คนใกล้ตัว คนรอบข้างได้อีกด้วย
อาหาร การกิน ปัจจัยหลักที่ต้องใส่ใจ
ช่วงระหว่างการพักฟื้นหลังผ่าตัดเป็นช่วงที่ร่างกายกำลังฟื้นฟู โดยหมวดอาหารที่ควรเน้นรับประทานมากที่สุดคือ กลุ่มโปรตีน เพราะมีส่วนช่วยในการสร้างเซลล์และองค์ประกอบต่างๆ อย่างเช่น โปรตีนจากเนื้อปลา หรือจากธัญพืชและถั่ว กลุ่มไขมันดีก็ขาดไม่ได้เช่นกัน ประเภทน้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันงา หรือถั่วเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนด์ ถั่วลิสง ไขมันดีมีคุณสมบัติช่วยสมานแผลได้รวดเร็ว และอย่ากลุ่มผักผลไม้ที่เสริมธาตุเหล็ก ผักใบเขียว วิตามินซีต่าง ๆ
ต้องหลีกเลี่ยงอาหารกึ่งสุขกึ่งดิบ ของหมักดอง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการสูบบุหรี่ อย่างน้อย 1 เดือนหลังการผ่าตัด เป็นไปได้ควรให้หายดีสักระยะเสียก่อน
ช่วงพักฟื้นระยะฟื้นฟูร่างกายหลังผ่าตัด
สามารถยืดเส้นยืดสายตามกำลังที่ทำไหวได้ หลังผ่าตัดไม่จำเป็นต้องนอนนิ่ง ๆ เป็นผู้ป่วยติดเตียง หรือห้ามขยับเพื่อให้แผลหายเร็ว ๆ สิ่งนี้คือ ความเชื่อที่สืบต่อกันมาแบบผิด ๆ เพราะ ในทางการแพทย์แล้วการลุกขึ้นมาขยับเคลื่อนไหวร่างกาย มีส่วนช่วยให้การฟื้นฟูร่างกายใช้ระยะเวลาสั้นลง แต่ต้องได้รับการอนุญาตจากแพทย์ และปรึกษาแพทย์ ห้ามยกของหนัก หรือออกกำลังกายแบบหักโหม ทางที่ดีควรอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์
อาจจะจากเริ่มลุกเดินจากเตียง ค่อย ๆ ลุกช้า ๆ ทุก 1-2 ชั่วโมง เพราะการเดินเคลื่อนไหวร่างกายแบบนี้ ไม่เพียงช่วยยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ แต่สามารถช่วยป้องกันภาวะหลอดเลือดขาอุดตัน การลุกเดินก็มีส่วนช่วยในการกระตุ้นให้ระบบลำไส้ได้มีการเคลื่อนไหวเช่นกัน
การดูแลความสะอาดแผลผ่าตัด
จุดนี้ คือสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการดูผู้ป่วยหลังผ่าตัดห้ามละเลยแม้แต่นิดเดียว เพราะ ช่วงที่ร่างกายมีบาดแผลวงกว้าง สภาวะร่างกายกำลังฟื้นฟูหากมีเชื้อโรคเข้าสู่ทางแผล อาจทำให้เกิด สภาวะแผลติดเชื้อได้ จะเกิดการอักเสบติดเชื้อง่ายขึ้น ควรเน้นเรื่องสุขอนามัยที่ดี เช่น ดูแลเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์สำหรับทำแผลให้สะอาดปราศจากเชื้อโรค
แต่หากพูดถึงรายละเอียดที่จุกจิกแบบนี้ ญาติผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่มีเวลาใส่ใจมาก ดังนั้นอีกหนึ่งทางเลือกคือเข้ารับบริการจากสถานพยาบาลใกล้เคียง ให้ผู้เชี่ยวชาญได้ดูแลอย่างใกล้ชิด รวมทั้งปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และต้องมาพบแพทย์เพื่อติดตามอาการทุกครั้งที่มีการนัดหมาย
การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดใช่ว่า จะดูแลแบบใดก็ได้ เมื่อคุณรู้เรื่องการเตรียมทั้งก่อนและหลังผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว ต้องรู้ในเรื่องอุปกรณ์เบื้องต้นที่ต้องเตรียม ดังนี้
1.เตียงนอนสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดมีไม้กั้น หมอนผ้าห่ม ที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
2.เสื้อผ้าที่ใส่สบายง่ายต่อการถอดเปลี่ยน
3. เสาน้ำเกลือ (หากจำเป็นต้องใช้)
4. อุปกรณ์ในการวัดสัญญาณชีพจร , วัดออกซิเจนในเลือด (หากจำเป็นต้องใช้)
ถ้ากรณีผ่าตัดที่ต้องใช้อุปกรณ์มากมาย หรือผู้สูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัด มีอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะให้คุณฟื้นฟูหลังผ่าตัดได้ถูกวิธี และฟื้นฟูตามภาวะที่เหมาะสมหลังผ่าตัดกับผู้สูงอายุ โดยทีมวิชาชีพ ที่จะวางแผนการและออกแบบเป็นดูแลเฉพาะรายบุคคล คือ ศูนย์ดูแลผู้ป่วย หรือเนอสซิ่งโฮม เพราะมีบริการอุปกรณ์ครบวงจร ทีมแพทย์พยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิดตลอด ตัวอย่างเช่น The Senior Health Care เป็นศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยผ่าตัด ศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ดูแลผู้ป่วย Stroke และศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เนอสซิ่งโฮมระดับพรีเมี่ยม ย่านรัชโยธินมีโปรแกรมบำบัด ฟื้นฟูที่ออกแบบเฉพาะบุคคล สิ่งอำนวยความสะดวก และระบบความปลอดภัย 24 ชั่วโมง จะดีกว่าไหมถ้าการดูแลผู้ป่วยผ่าตัด ยกให้เป็นหน้าที่ทีมวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญของ The Senior Health Care ดูแล
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://senior.co.th
E-mail : seniortalk5@gmail.com
Tel : 090-885-2985
Leave a Reply