กายภาพบำบัดเบื้องต้น ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

กายภาพบำบัดเบื้องต้น ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular Disease ; Stroke)

อาการแสดง

• ระยะแรก: ร่างกายด้านตรงข้ามกับสมองที่ถูกทำลายหยุดการทำงานมีอาการอ่อนแรง กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก ไม่สามารถ ควบคุมการเคลื่อนไหวได้

• ระยะฟื้นตัว: ขยับแขนขาได้ สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้บ้าง อาจมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อแขนและขา

อาการแสดงอื่นๆ ที่อาจพบได้

• อาการอ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย

• กล้ามเนื้ออ่อนแอ

• ประสิทธิภาพการทำงานของระบบทางเดินหายใจและ หัวใจลดลง

• ผู้ป่วยอาจไม่สนใจสิ่งต่างๆ ที่อยู่ทางด้านซ้ายหรือ ร่างกายซีกซ้ายของตนเอง

• การกลั้นปัสสาวะไม่ได้นานหรือไม่ได้เลย

• ปัญหาด้านความจำระยะสั้น

• การพูด การอ่าน

• การคิด การสรุปความ และการคำนวณ

• ปัญหาด้านการมองเห็น

• การบอกทิศทาง ระยะทาง

• ปัญหาซึมเศร้าและการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ

ระยะการฟื้นตัว

• การฟื้นตัวตามธรรมชาติของสมอง

– 2-3 วัน ถึง 4 เดือน

• การปรับเปลี่ยนโครงข่ายระบบประสาท

– ระยะเวลานานถึง 7-8 ปี

– ขึ้นกับรอยโรคในสมอง ภาวะแทรกซ้อนโรคประจำตัว อายุ ลักษณะนิสัย ของผู้ป่วย ความตั้งมั่นและวินัยในการฝึกฝนครอบครัว สิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยและการรักษาที่ได้รับ

– ต้องอาศัยข้อมูลจากการเรียนรู้การทำทักษะต่างๆใหม่ หากผู้ป่วยมีการเรียนรู้ในการทำทักษะที่ผิดปกติ สมองก็จะมีโครงข่ายระบบประสาทที่ ควบคุมสั่งการการทำทักษะให้ออกมาเป็นแบบที่ผิดปกติด้วย

บทบาทของกายภาพบำบัดในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

• การฟื้นฟูทักษะการเคลื่อนไหวที่สูญเสียไปจากการที่บางส่วน ของสมองถูกทำลาย

–การควบคุมการเคลื่อนไหว

–การทรงตัว

–การทำงานประสานสัมพันธ์ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ

• การป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการถูกจำกัดการเคลื่อนไหว

–การหดสั้นของกล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่อรอบข้อต่อ

–ป้องกันอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ

เป้าหมายการรักษา

เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปเคลื่อนไหวร่างกายให้ได้ ใกล้เคียงปกติมากที่สุด สามารถช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน การทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพและการทำกิจกรรมต่างๆ ทางสังคมได้

กระบวนการทางกายภาพบำบัด

1) การจัดท่านอน นั่ง ยืนที่ถูกต้อง

2) การฝึกเคลื่อนย้ายตนเองหรือการเปลี่ยนท่าทาง

3) การออกกำลังกายแบบทำให้

4) การกระตุ้นไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อที่อ่อนปวกเปียก

5) การฝึกฝนการทรงตัวและการรักษาสมดุลของร่างกาย

6) การฝึกการทำงานที่ประสานสัมพันธ์กันของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ

7) การฝึกเดิน

8) การฝึกการทำกิจวัตรประจำวัน

9) การออกกำลังกายแบบแอโรบิก

กระบวนการทางกายภาพบำบัด

1) การจัดท่า จัดให้แขนและขาอยู่ในท่าตรงข้ามกับท่าทางที่อาจเกิดขึ้น เมื่อมี อาการเกร็งของกล้ามเนื้อแขนและขาใน ท่าหมุนต้นแขนเข้าด้านใน งอข้อศอก คว่ำมือ กระดกข้อมือลง กำมือแน่น ข้อสะโพกและข้อเข่า เหยียดตรง ปลายเท้าจิกลง นิ้วเท้างอ

1.1) ท่านอนหงาย

1.2) ท่านอนตะแคงทับด้านแข็งแรง

1.3) ท่านอนตะแคงทับด้านอ่อนแรง

1.4) การจัดท่านั่ง

• ลำตัวตั้งตรง

• แขนข้างอ่อนแรงวางบนที่พักแขน

• ลงน้ำหนักเท่ากันทั้งสองข้าง

• เท้าวางราบกับพื้น

1.5) การจัดท่ายืน

• ลำตัวตั้งตรง

• แขนข้างอ่อนแรงอยู่ในท่าหมุนต้น แขนออกด้านนอก เหยียดข้อศอก หงายมือ กระดกข้อมือขึ้น แบมือ

• ลงน้ำหนักที่เท้าเท่ากันทั้งสองข้าง

• เท้าวางราบกับพื้น

2) การฝึกเคลื่อนย้ายตนเองหรือการเปลี่ยนท่าทาง

• ให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุด

• อาจต้องการความช่วยเหลือจากผู้ดูแล

2.1) การพลิกตะแคงตัวทับข้างแข็งแรง

2.2) การพลิกตะแคงตัวทับข้างอ่อนแรง

2.3) การลุกขึ้นนั่งข้างเตียงทางด้านแข็งแรง

2.4) การลุกขึ้นนั่งข้างเตียงทางด้านอ่อนแรง

2.5) การลุกขึ้นยืน – นั่งลง

3) การออกกำลังกายแบบทำให้

3.1) ผู้ดูแลทำให้

– การจับผู้ป่วยต้องมั่นคงและรองรับส่วนที่อ่อนปวกเปียก

– จังหวะการเคลื่อนไหวสม่ำเสมอและราบเรียบ

– เคลื่อนไหวข้อต่อทุกทิศทางในช่วงที่ไม่มีอาการปวด

– ระวังการเคลื่อนไหวที่เกินช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อ

– ผู้ดูแลต้องอยู่ในท่าที่ได้เปรียบเชิงกล เพื่อช่วยผ่อนแรงขณะทำการเคลื่อนไหวให้ ผู้ป่วย 3.2) ผู้ป่วยทำเอง

– ใช้ข้างที่แข็งแรงจับข้างที่อ่อนแรงเคลื่อนไหว

– จังหวะการเคลื่อนไหวสม่ำเสมอและราบเรียบ

4) การกระตุ้นไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อที่อ่อนปวกเปียก

5) การฝึกฝนการทรงตัวและการรักษาสมดุลของร่างกาย

• ทำในท่านอนตะแคง ท่านั่ง และท่ายืน

• การอยู่นิ่ง

• การถ่ายน้ำหนัก

• การรบกวนการทรงท่า

5.1) การถ่ายน้ำหนักด้านข้าง

5.2) การถ่ายน้ำหนักด้านหน้า-หลัง

5.3) การเอื้อมจับ

5.4) การถ่ายน้ำหนักลงบนแขนท่อนล่าง

5.5) การถ่ายน้ำหนักด้านหน้าพร้อมลุกขึ้นยืน

6) การฝึกการทำงานที่ประสานสัมพันธ์กันของระบบประสาท และกล้ามเนื้อ

7) การฝึกเดิน

8) การฝึกการทำกิจวัตรประจำวัน

9) การออกกำลังกายแบบแอโรบิก

ข้อควรระวังในการการฝึกผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

• ไม่ให้ผู้ป่วยใช้ความพยายามในการเคลื่อนไหวเกินกำลังกล้ามเนื้อ ของผู้ป่วย เพราะจะทำให้เกิดอาการเกร็งกล้ามเนื้อมากขึ้น และมีการเคลื่อนไหวชดเชยที่ไม่ควรเกิดขึ้นในการเคลื่อนไหวปกติ ขัดขวางการพัฒนาทักษะที่ดี

• ระวังอย่าดึงกระชากข้อไหล่ผู้ป่วย เพราะจะทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ ข้อไหล่ได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อสะบักและไหล่อ่อนแรง

• ลดอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อก่อนการทำการเคลื่อนไหวข้อต่อ ต่างๆ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่อ

• การยกแขนขึ้นสูงกว่าระดับไหล่ต้องจัดให้แขนข้างที่อ่อนแรงอยู่ใน ท่าศอกเหยียดตรงนิ้วหัวแม่มือชี้ขึ้นเพดานหรือหงายมือ

การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

• ผู้ป่วยและญาติต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการตั้งเป้าหมายการฟื้นฟูสภาพและการวางแผนการรักษา

• เน้นการฝึกฝนตนเองของผู้ป่วย

• ความช่วยเหลือและกำลังใจจากญาติ