การดูแลผู้ป่วยติดเตียง-10ภาวะแทรกซ้อนที่ควรระวัง

การดูแลผู้ป่วยติดเตียง: 10 ภาวะแทรกซ้อนที่ควรระวัง

Caring for Bedridden Patients: 10 Complications to Watch Out For

             การดูแลผู้ป่วยติดเตียงต้องใช้ความใส่ใจและความรู้เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ง่าย ในบทความนี้เราจะมาพูดถึง 10 ภาวะแทรกซ้อนที่ผู้ดูแลควรระวังและวิธีการป้องกัน

1. สำลักอาหาร (Foreign Body Airway Obstruction)

             ผู้ป่วยติดเตียงมักประสบปัญหาในการกลืนอาหาร ซึ่งอาจนำไปสู่การสำลักและเกิดปอดติดเชื้อได้ การจัดท่านั่งในขณะป้อนอาหาร หรือการใช้หมอนหนุนในกรณีที่ผู้ป่วยนั่งไม่ได้ เป็นสิ่งสำคัญที่ควรระมัดระวังขณะปฏิบัติ

2. แผลกดทับ (Pressure Sore, Bed Sore)

             การนอนนิ่งในท่าเดิมนานๆ สามารถทำให้เกิดแผลกดทับได้ การพลิกตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมงจะช่วยลดความเสี่ยงนี้ โดยเฉพาะบริเวณที่รับน้ำหนัก เช่น ส้นเท้า ข้อศอก และก้นกบ ควรตรวจสอบผิวหนังอยู่เสมอเพื่อป้องกันการลุกลามของแผล

3. ข้อยึดติดและกล้ามเนื้อฝ่อลีบ (Muscle Atrophy)

             การเคลื่อนไหวน้อยอาจทำให้เกิดข้อยึดติดและกล้ามเนื้อฝ่อลีบ การทำกายภาพบำบัดเป็นประจำจะช่วยรักษาความยืดหยุ่นของข้อต่อและกล้ามเนื้อ โดยเน้นที่ข้อสำคัญ เช่น ข้อเท้า ข้อศอก และหัวไหล่

4. ภาวะปอดแฟบ (Atelectasis)

             การนอนติดเตียงทำให้ผู้ป่วยหายใจตื้น ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะปอดแฟบ ผู้ดูแลควรจัดให้ผู้ป่วยนั่งในช่วงเวลากลางวันเพื่อช่วยให้หายใจได้ลึกขึ้น และกระตุ้นการขยายตัวของปอด

5.ปอดติดเชื้อ (Lung infection) 

             สำหรับภาวะแทรกซ้อนปอดติดเชื้อ ถือเป็นอาการที่มีสาเหตุมาจากการสำลักอาหารและการสำลักน้ำลาย การเคลียร์เสมหะสำคัญมากเพราะการสำลักเข้าสู่หลอดลมและปอดอาจทำให้เกิดการอักเสบจนติดเชื้อได้

6. ภาวะสับสน (Delirium)

             ผู้ป่วยติดเตียงอาจมีปัญหาสุขภาพจิต เช่น สับสนหรืออารมณ์แปรปรวน การเข้าใจและจัดการกับอาการเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ ผู้ดูแลควรให้ความมั่นใจ โดยการอธิบายสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนและจัดสภาพแวดล้อมให้คุ้นเคย

7.ติดเชื้อในกระเพราะปัสสาวะ (UTI)

             สำหรับโรคแทรกซ้อนที่สามารถพบได้มากในผู้ป่วยติดเตียงหญิง ก็คือ ภาวะแทรกซ้อนติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากในเพศหญิงมีท่อปัสสาวะที่สั้นกว่าเพศชาย เมื่อมีการกลั้นปัสสาวะเป็นระยะเวลานานๆ ก็อาจส่งผลทำให้เชื้อโรคเกิดการเจริญเติบโตและเกิดการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ

8.ท้องผูก (Constipation)

             อาการท้องผูก ถือเป็นอีกหนึ่งภาวะที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยติดเตียง เกิดจากขยับตัวได้น้อย ทำให้ลำไส้ไม่ได้ขยับตัว การทำกายภาพเพื่อให้ได้ขยับตัว ทานอาหารที่มีปริมาณของกากใย การดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย สามารถช่วยในเรื่องการขับถ่ายได้ ผู้สูงอายุที่ติดเตียงต้องมีการตรวจสอบว่าได้มีการขับถ่าย ในระยะเวลาที่เหมาะสม ไม่เช่นนั้นอาจจะต้องมีการช่วยเหลือด้านการขับถ่านเช่นการสวนอุจจาระ 

9.ผื่นจากการใส่ผ้าอ้อม (Diaper Rash or dermatitis)

             การใส่ผ้าออมให้กับผู้ป่วยติดเตียงก็มักจะทำให้เกิดการอับชื้นขึ้นได้ อีกทั้งหากไม่รอบการเปลี่ยนผ้าอ้อมที่เหมาสม และการทำความสะอาดที่ดีระหว่างรอบ ก็อาจทำให้เกิดผื่นอักเสบได้

10.ภาวะซึมเศร้า (Depression)

             ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยติดเตียงเป็นเรื่องที่พบได้บ่อย ผู้ดูแลควรจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วม เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตและให้การสนับสนุนทางอารมณ์อย่างเหมาะสม

             ความเสี่ยงการสภาวะแทรกซ้อน 10 สามารถลดลงได้ด้วยการดูแลที่เหมาะสม โรงพยาบาลและศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เดอะซีเนียร์ มีความพร้อมที่จะให้การดูแลผู้ป่วยที่ต้องใช้ชีวิตบนเตียงทั้งในระยะยาวและระยะสั้น โดยทีม สหวิชาชีพ แพทย์เฉพาะทางผู้สูงอายุ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู พยาบาลวิชาชีพ นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด  สามารถประเมินและวางแผนการดูแลเพื่อลดความเสี่ยงจากสภาวะแทรกซ้อนที่จะทำให้ผู้สูงอายุถดถอยลง

             เดอะซีเนียร์สามารถดูแลกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุต้องการช่วยเหลือ ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และผู้ป่วยพักฟื้นหลังจากการผ่าตัด ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ให้อาหารทางสาย เจาะคอ จนถึงกลุ่มผู้ป่วยที่ยังต้องให้ออกซิเจน หรือเครื่องช่วยหายใจ (Home Ventilator) ด้วยประสบการณ์การดูแลและความเชี่ยวชาญในผู้สูงอายุมากกว่า 25 ปี และการพัฒนาที่ต่อเนื่อง จึงทำให้เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการดูแลผู้สูงอายุ ด้านการดูแล ด้านกิจกรรมบำบัด และฟื้นฟูหลังออกจากโรงพยาบาล


สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมของโรงพยาบาลเดอะซีเนียร์ได้ที่
โทร : 090-885-2985, 094-498-1115

LINE OFFICIAL : @thesenior

Leave a Reply

Your email address will not be published.