โรคเบาหวานเข้าจอประสาทตา

โรคเบาหวานเข้าจอประสาทตา

          ภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานๆ มีผลโดยตรงต่อเส้นเลือดฝอย เม็ดเลือดแดงและเกร็ดเลือด ผนังภายในของเส้นเลือดฝอยจะหนาขึ้นประกอบกับเม็ดเลือดแดงและเกร็ดเลือดจับกันเป็นลิ่ม จนเกิดการอุดตันของเส้นเลือดฝอยมีผลให้จอประสาทตาขาดเลือดไปเลี้ยงผนังด้านในของเส้นเลือดฝอยมีปริมาณเซลล์ลดลงผนังขาดความแข็งแรงจึงโป่งพองเป็นกระเปาะและเกิดการรั่วซึมออกของน้ำเหลืองและเม็ดเลือดอยู่ตามชั้นต่างๆ ของจอประสาทตา เกิดจบประสาทตาบวม

          ภาวะที่จอประสาทตาขาดเลือดและขาดออกซิเจน จะกระตุ้นให้เกิดการงอกเส้นเลือดใหม่ที่ผิดปกติบนจอประสาทตา และงอกเข้าในวุ้นตาอาจมีเส้นเลือดงอกผิดปกติบนม่านตา เส้นเลือดผิดปกติที่วุ้นตา ถ้าเกิดการแตกผู้ป่วยจะตามือดลงทันที การสร้างพังผืดในวุ้นตาทำให้เกิดจอประสาทาหลุดลอกและตาบอดได้ เส้นเลือดผิดปกติที่ม่านตาจะทำให้เกกิดโรคต้อหิน

ระยะตามการตรวจพบ

         ระยะอันตรายน้อย ยังไม่มีเส้นเลือดงอกผิดปกติเกิดขึ้น ผู้ป่วยมีเพียงจุดเลือดออก น้ำเหลืองรั่วในจอประสาทตา ถ้าเกิดที่บริเวณรอบนอกของจอประสาทตกการมองเห็นยังปกติ แต่ถ้าเกิดตรงกลางของจอประสาทตา โดยเฉพาะที่จุดรับภาพผู้ป่วยจะมีอาการตามัวลง

        ระยะอันตรายมาก มีเส้นเลือดงอกผิดปกติบนผิวจอประสาทตา หรือวุ้นตาหรือม่านตา ซึ่งเกิดจากจอประสาทตาขาดเลือดและขาดออกซิเจนไปเลี้ยงการตรวจพบมีสภาพของระยะอันตรายน้อยร่วมกับมีเส้นเลือดงอกผิดปกติบนจอประสาทตาหรือ / และวุ้นตา ผู้ป่วยจะมีอาการตามัวเพียงเล็กน้อยถ้าจุดรับภาพยังดี แต่ถ้าเส้นเลือดแตก เช่น หลังอาการไอ จาม เบ่งอุจจาระ ผู้ป่วยตามือลงทัน ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะตามด้วยจอประสาทตาหลุดลอก ตาบอดสนิทและอาจมีโรคต้อหินตามมาทำให้เกิดอาการปวดตาร่วมด้วย

“การเปลี่ยนแปลงจากระยะอันตรายน้อยเป็นระยะอันตรายมาก อาจะเปลี่ยนแปลงรวดเร็วใน 1 ปีหรือช้าเป็น 20 ปีก็ได้”

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของจอประสาทตาเร็วขึ้น

-การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดี                                                                                                         

-ภาวะการตั้งครรภ์

-โรคไต

-โรคซีด

-ความดันโลหิตสูง

-ระดับไขมันในเลือดสูง

การดูแลตาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

          ป่วยโรคเบาหวานทุกท่านจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติที่สุด ควรรับการตรวจจอประสาทตาโดยการขยายม่านตา เพื่อวินิฉัยโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตา และให้การรักษาในระยะที่เหมาะสม แม้ว่าผู้ป่วยยังรู้ว่าตาเห็นชัดดี

การรักษาโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตา

1.การใช้แสงเลเซอร์ยิงที่จอประสาทตาหลักการของเลเซอร์

-ในรายจุดรับภาพบวม ใช้เลเซอร์พลังงานต่ำยิงเพื่อกระตุ้นให้จุดรับภาพลดลวม ช่วยให้การมองเห็นค่อยๆดีขึ้นได้

-ในรายเส้นเลือดงอกผิดปกติ เลเซอร์ไปทำลายจอประสาทตาที่ลาดเลือดและขาดออกซิเจน มีผลให้เส้นเลือดที่งอกผิดปกติฝ่อลง เป็นการป้องกันเลือดออกในวุ้นตา และป้องกันการงอกใหม่ของเส้นเลือด

2.การผ่าตัดวุ้นตาช่วยลดอัตราการตาบอดได้ทำในราย

-เลือดออกในวุ้นตา

-พังผืดในวุ้นตาดึงรั้งที่ศูนย์กลางจอประสาทตา

-จอประสาทตาขาดและหลุดลอก

อายุที่เริ่มเป็นโรคเบาหวาน

0-29 ปี

30 ปี หรือมากกว่า

ก่อนการตั้งครรภ์

ตรวจตาครั้งแรก

ทันที่ที่รู้ว่าเป็นโรคเบาหวาน หรืออย่างช้าที่สุดภายใน 5 ปี หลังจากเริ่มเป็นโรคเบาหวาน                                    ทันที่ที่รู้ว่าเป็นโรคเบาหวาน ก่อนตั้งครรภ์และหลังตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก

ตรวจตาครั้งต่อไป

ตาปกติ ตรวจปีละ 1 ครั้ง
โรคเบาหวานเข้าจอประสาทตา ตรวจทุก 3- 6 เดือน
ระยะอันตราย ตรวจทุก 1 – 3 เดือน