"ภาวะสับสน" เป็นกลุ่มอาการโดยผู้ป่วยจะมีความผิดปกติของระดับการรู้สึกตัว การรับรู้ และการเข้าใจ
ลักษณะอาการ
1.ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติของการรู้สึกตัวและความตั้งใจ เช่น ผู้ป่วยรู้สึกตัวน้อยลง หลงลืมวัน เวลา สถานที่ ขาดสมาธิ รวมถึงมีการสื่อสารที่ผิดปกติไป เช่น ตอบนอกเรื่องไม่ตรงคำถาม พูดแล้วหยุดเป็นช่วงๆหลงลืมสิ่งที่พูด
2.ผู้ป่วยอาจง่วงซึมไร้เรี่ยวแรง นอนหลับมากขึ้น หรือวุ่นวาย สับสนผุดลุกผุดนั่ง ผู้ป่วยมักอยากลงจากเตียงนอน ดึงสายน้ำเกลือและอ๊อกซิเจน หรือเป็นทั้งสองลักษณะทั้งง่วงซึมและวุ่นวายสลับกันไปมาในระหว่างวัน
3.ผู้ป่วยอาจมีความผิดปกติของการรับรู้ เช่น เห็นภาพหลอน ได้ยินเสียงแปลกๆที่ไม่เคยได้ยิน โดยผู้ดูแลมักเห็นผู้ป่วยพูดคนเดียวเหมือนกำลังสื่อสารกับคนอื่นๆอยู่พูดเรื่องในอดีต หรืออาจพบลักษณะความคิดที่ผิดปกติ เช่น กลัวว่าจะมีคนเข้ามาทำร้าย โดยอาการเหล่านี้มักเกิดในช่วงกลางคืน ผู้ป่วยอาจจำไม่ได้เมื่อถูกถามในช่วงเช้า
4.ผู้ป่วยมักมีลักษณะการนอนที่ผิดปกติไป เช่น ผู้ป่วยนอนในช่วงกลางวันและตื่นในช่วงกลางคืน ผู้ป่วยอาจซึม หลับทั้งวัน หรือไม่นอนทั้งกลางวันและกลางคืน
สาเหตุของอาการ
1.เกิดจากสมองทำงานผิดปกติ เช่น มีก้อนมะเร็งในสมองหรือมีรอยโรคเดิมในสมองเช่น สมองเสื่อม
2.เกิดจากยา เช่น ยานอนหลับ ยากลุ่มมอร์ฟืน ยาในกลุ่มสเตอร์รอยเป็นต้น
3.การติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ติดเชื้อในปอด ติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นต้น
4.เกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ เช่น แคลเซียมสูง โซเดียมในเลือดสูงหรือต่ำ แมกนีเซียมต่ำ ภาวะขาดน้ำภาวะการทำงานผิดปกติของอวัยวะต่างๆ
สาเหตุของการสับสนในผู้ป่วยบางรายเกิดจากหลายสาเหตุบางสาเหตุอาจไม่สามารถแก้ไขได้ โดยเฉพาะในช่วงระยะท้ายของชีวิต แต่สามารถใช้ยาเพื่อควบคุมอาการได้
ผลกระทบจากภาวะสับสน
1.ผู้ป่วยจะรู้สึกทรมานจากภาวะสับสนเนื่องจาก ผู้ป่วยมีความยากลำบากที่จะควบคุมตนเอง และภาวะสับสนจะเหนี่ยวนำอาการที่ผู้ป่วยมีอยู่เดิมให้เป็นมากขึ้นจึงเป็นเหตุทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานมากขึ้น ฉะนั้นเมื่อผู้ดูแลหรีอญาติถามผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการต่างๆผู้ป่วยที่มีภาวะลับสนอยู่นั้น มักบอกอาการต่างๆที่มากกว่าเดิมแต่ไม่สามารถอธิบายได้ เช่น ปวดเต็ม 10 คะแนนแต่บอกไม่ได้ว่าปวดตรงไหนหรือลักษณะอาการปวดเป็นอย่างไร
2.ผู้ป่วยที่มีภาวะสับสนจะมีความยากลำบากที่จะตัดสินใจในเรื่องต่างๆ
3.ผู้ป่วยที่มีภาวะสับสน บางครั้งอาจไม่สามารถคาดเดาอาการได้แต่มักจะเกิดในช่วงเวลากลางคืนเป็นหลักผู้ป่วยอาจจะเห็นภาพหลอน พูดคนเดียว สับสน วุ่นวาย มักจะลุกเดินหรือลงจากเตียง ทำให้ผู้ดูแลต้องดูแลและระมัดระวังผู้ป่วยมากกว่าเดิมเป็นเหตุทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวลและความเหนื่อยล้าจากการดูแลผู้ป่วยได้ ฉะนั้นการจัดเวร เพื่อสลับกันดูแลผู้ป่วยจึงเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อลดความเครียดและความเหนื่อยล้าของผู้ดูแล
การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสับสน
1.การค้นหาสาเหตุของภาวะสับสน ผู้ดูแลควรเล่ารายละเอียดของอาการให้แพทย์หรือพยาบาลรับทราบแพทย์จะพิจารณาลักษณะอาการของผู้ป่วย อาจจำเป็นต้องมาตรวจเพิ่มเติม เช่น การเจาะเลือด เพื่อหาสาเหตุและแก้ไขภาวะสับสน หรือให้ยาเพื่อ บรรเทาอาการของผู้ป่วย
2.การดูแลรักษาแบบไม่ใช้ยา
2.1 การจัดการสิ่งแวดล้อม โดยการดูแลความปลอดภัยของผู้ป่วยโดยรวม ระมัดระวังในกรณีที่ผู้ป่วยอาจมีความเสี่ยงที่ลุกจากเตียงเป็นเหตุทำให้ตกเตียง หรือดึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น สายให้อาหาร อ๊อกซิเจน
2.2 ผู้ป่วยที่ภาวะสับสนมักหลงลืมช่วงเวลา ฉะนั้นการบอกผู้ป่วยว่าตอนนี้กี่โมงแล้ว วันนี้เป็นวันอะไรหรือตอนนี้เราอยู่กันที่ไหน เพื่อให้ผู้ป่วยรู้ตัวรู้เรื่องมากขึ้นเท่าที่จะเป็นไปได้
2.3 ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะสับสนกันผู้ดูแล รวมถึงบุคคลอื่นๆในครอบครัวของผู้ป่วยเพื่อ ความเข้าใจตรงกัน และได้ช่วยเหลือลังเกตอาการ ต่างๆของผู้ป่วยเพื่อเฝ้าระวังสำหรับการดูแลต่อไป
3.การดูแลรักษาแบบใช้ยา แพทย์จะให้ยาเพื่อบรรเทาอาการของผู้ป่วย โดยยาที่ใช้อาจมีผลข้างเคียงที่ทำให้ผู้ป่วยซึมหลับมากขึ้น
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก :: ศูนย์บริรักษ์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
เดอะซีเนียร์เป็นศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและโรงพยาบาลผู้สูงอายุเดอะซีเนียร์ ทำให้เราเข้าใจดีในเรื่องการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ และผู้สูงอายุที่ต้องการความใส่ใจการดูแลครอบคลุมทุกด้าน ทั้งด้านการพยาบาล การฟื้นฟูร่างกาย ด้านอาหารและโภชนาการ โดยทีมแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ดูแล กายภาพบำบัดวิชาชีพและนักโภชนาการ
The Senior Health Care โรงพยาบาลผู้สูงอายุ และศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เราพร้อมดูแลผู้ป่วยที่มีภาวการณ์เจ็บป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคร้ายแรงอย่างโรคมะเร็ง โรคไตระยะสุดท้าย โรคพาร์กินสัน ผู้ป่วยสมองเสื่อม หรือมีอาการอัลไซเมอร์ระยะสุดท้าย รวมถึงกลุ่มผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ป่วยประคับประคอง โดยทีมแพทย์ นักกายภาพบำบัด และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแล ด้วยประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ และพร้อมให้คำแนะนำปรึกษาครอบครัวของผู้ป่วย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งทางร่างกายและจิตใจ
สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมของโรงพยาบาลเดอะซีเนียร์ได้ที่
โทร : 090-885-2985, 094-498-1115
LINE OFFICIAL : @thesenior