ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ดูแล ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ดูแล ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม

สุขภาพกายและอารมณ์ของท่านมีผลกระทบต่อผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมด้วยเช่นกัน ถ้าท่านมีอารฒร์เครียด หงุดหงิด รีบเร่ง ใจร้อน ผู้ป่วยจะสามารถรับรู้ความรู้สึกนั้น ๆ ได้ และอาจะแสดงอาการหงุดหงิดต่อต้านไม่ร่วมมือ หรือเกิดปฏิกิริยาการตอบโต้ต่อท่าน ดังนั้นท่านควรปฏิบัติตัวดังนี้

1. หาเวลาพักผ่อนให้ตัวเอง สิ่งนี้จัดเป็นสิ่งสำคัญมากๆสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม และก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อผู้ดูแลเองและผู้ป่วย การพักผ่อนเป็นการให้ผู้ดูแลได้มีเวลาส่วนตัว และทำธุระเรื่องส่วนตัว ถ้าเป็นไปได้ผู้ดูแลควรมีเวลาพักผ่อนที่ไม่ต้องดูแลผู้ป่วย อย่างน้อย 1 วัน/สัปดาห์

2. พูดคุยกับเพื่อน ผู้ดูแลควรจะคบหา ติดต่อกับเพื่อนฝูง และเข้าสังคมอยู่ เนื่องจากเพื่อนที่สนิทอาจะช่วยให้คำปลอบประโลม หรือคำแนะนำที่ดีๆ แก่ผู้ดูแลได้

3. พึงตะหนักถึงสัญญาติเตือนว่าท่านอาจมีปัญหาเกิดขึ้นกับตนเอง เช่น เริ่มดื่มเหล้ามากขึ้น รับประทานยาคลายเครียดมากขึ้น ร้องไห้ คิดว่าทุกอย่างหนักเกินที่ท่านจะรับไว้ได้ ตื่นเต้นตกใจง่าย หรือคิดอยากทำร้ายตนเอง เป็นต้น ถ้าหากเกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้น ท่านควรรีบปรึกษาแพทย์ หรือผู้ที่สามารถให้คำแนะนำ แก้ไขให้แก่ท่านได้

4. หาสิ่งบันเทิงให้กับตัวท่านเอง เช่น ซื้อของขวัญให้กับตนเอง ไปท่องเที่ยวในสถานที่ๆ ชอบ เป็นต้น

5. ปรึกษาผู้เชียวชาญเกี่ยวกับปัญหาที่ท่านมี ไม่อายที่จะปรึกษาแพทย์หรือจิตแพทย์เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาตั้งแต่เนิ่นๆ

6. หมั่นดูแลสุขภาพของตัวท่านเองเป็นประจำ ตรวจเช็คสุขภาพประจำปี และถ้ามีโรคประจำตัว ก็ควรรักษาอย่างต่อเนื่อง

7. เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมการอบรบผู้ดูแลผู้ป่วย สมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม เนื่องจากท่านจะได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ท่านประสบทั้งในปัจจุบันและในอนาคต และท่านจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ดูแลผู้ป่วยท่านอื่นๆ ที่อาจมีกลวิธีในการแก้ไขปัญหาเดียวกับท่าน และมีความเข้าใจในปัญหาของผู้ดูแลผู้ป่วย

ข้อมูลจาก คลินิกผู้สูงอายุ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

โรงพยาบาลศิริราช