ธันวาคม 20, 2018มกราคม 16, 20192 0 การจัดท่า และการช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองการจัดท่า และการช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองการจัดท่า และการช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น ความผิดปกติของการเคลื่อนไหว หลังจากสมองขาดเลือดอย่างเฉียบพลัน 1. ระยะแรก อยู่ในช่วงสมองช็อก มีการตายของเซลล์สมองในส่วนที่ขาดเลือดไปเลี้ยงและเซลล์สมองบริเวณรอบๆจะหยุดทำงาน ทำให้กล้ามเนื้อของร่ายกายซีกหนึ่งซีกใดหยุดทำงาน มีอาการอ่อนแรง กล้มเนื้ออ่อนปวกเปียก รวมถึงกล้ามเนื้อของใบหน้า ลิ้น และลำตัวด้วย 2. ระยะที่มีการฟื้นตัว ระยะนี้จะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 เป็นต้นไป ในระยะนี้จะเห็นว่า แขนขาเริ่มมีการขยับได้ ผู้ป่วยสามารถควบคุมการเคลื่นไหวได้เป็นบางส่วนเท่านั้น ส่วนที่ควบคุมไม่ได้กล้ามเนื้ออาจมีอาการเร็งการจัดท่านอน ท่านั่ง ให้ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะ ในผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตระยะแรก เพราะจะช่วยให้ 1.ป้องกันความผิดปกติของกล้ามเนื้อ 2.ป้องกันแผลกดทับ 3.ป้องกันปัญหาเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือด และระบบน้ำเหลือง 4.ช่วยส่งตัวกระตุ้นที่ถูกต้องไปยังสมอง 5.ช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยเรียนรู้ที่จะดูแลร่างกายส่วนที่เป็นอัมพาตการนอนอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลาหลายชั่วโมงไม่เป็นผลดีกับผู้ป่วยอัมพาต ควรเปลี่ยนท่าทางทุก 2-3 ชั่วโมง จากนอนหงายเป็นนอนตะแคง และควรนอนตะแคงสลับกันทั้งสองข้างการจัดท่านอนหงาย ผู้ดูแลจับที่ขอบสะบักของแขนข้างที่เป็นอัมพาต และดึงขอบสะบักออกมาเพื่อให้ผู้ป่วยนอนทับสะบัก ตำแหน่งสะโพกและไหล่มีความสำคัญมาก ขาจะหมุนเข้าด้านในเล็กน้อย แขนหมุนออกด้านนอก ฝ่ามือหงายขึ้นข้อศอกเหยียดตรง 1.หน้าอยู่ในท่าตรง ระวังอย่าให้หมอนสูงเกินไป 2.สอดหมอนไว้ใต้หัวไหล่เพื่อให้ไหล่ยกมาข้างหน้าเล็กน้อย 3.แขวนวางบนหมอน หงายฝ่ามือขึ้น ข้อศอกเหยียดตรง หากไม่สามารถหงายมือได้ ให้ตั้งหัวแม่มือขึ้น อาจใช้ถุงน้ำหนักเบาๆทับไว้ถ้าแขนมีอาการเกร็งและไม่สามารถจัดให้อยู่ในท่าตรงได้ 4.ให้หมอนเล็กไว้ใต้สะโพกและใต้เข่า เพื่อบังคับให้ขาอยู่ในท่าตรง 5.ห้ามใช้หมอนแข็งหรือใช้ที่ดันปลายเท้า เพราะจะกระตุ้นให้เกิดอาการเกร็งเพิ่มขึ้นการจัดท่านอนตะแคง ควรนอนตะแคงทั้งซ้ายและขวาสลับกัน (1) ท่านอนตะแคงทับข้างอ่อนแรง 1.ผู้ดูแลจับที่ขอบสะบักของแขนข้างที่เป็นอัมพาต และดึงขอบสะบักออกมาเพื่อให้ผู้ป่วยนอนทับสะบักออกมาเพื่อให้ผู้ป่วยนอนทับสะบัก 2.ขยับให้หัวไหล่ยื่นไปข้างหน้าให้มากที่สุด โดยการดึงเบาๆที่ต้นแขน ห้ามดึงที่ข้อมือ 3.สอดหมอนไว้ที่หลังผู้ป่วยและใส่หมอนรอบรับขาผู้ป่วย(2)ท่านอนตะแคงทับข้างปกติ 1. ขยับให้หัวไหล่ข้าวที่อ่อนแรงยื่นไปข้างหน้าให้มากที่สุด โดยการดึงเบาๆที่กระดูกสะบัก ห้ามดึงที่ข้อมือ 2. สอดหมอนไว้ที่หลังผู้ป่วย และใส่หมอนรองรับขาและแขนผู้ป่วยดังรูปการจัดท่านั่งในรถเข็น การจัดท่านั่งในรถเข็น ผู้ป่วยควรนั่งให้สะโพกเข้าไปชิดพนักหลังมากที่สุด และผู้ป่วยควรพิงพนักให้หลังตรง ถ้าตัวเอียงไปด้านที่อ่อนแรงต้องใช้หมอนช่วยดันให้ตัวตรง วางมือข้างที่อ่อนแรงไว้บนโต๊ะหรือบนหมอนที่วางบนตัก อย่าปล่อยให้แขนข้างที่อ่อนแรงตกไปด้านข้าง
Leave a Reply